JIRAWAN.P

30 ก.ย. 2553

โรคสะเก็ดเงิน

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอย่างองค์รวมเป็นอย่างไร?
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน มีปัจจัยภายนอก ภายในร่างกายและปัจจัยทางด้านจิตใจของผู้ป่วยเป็นตัวกระตุ้นหรือส่งเสริมให้โรคกำเริบ ดังได้กล่าวมาแล้วว่าโรคสะเก็ดเงินไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว แต่เป็นผลของเหตุและปัจจัยหลายๆอย่างมากระทบกันแล้วทำให้ปรากฎอาการของโรคให้เห็น อาการของโรคจึงมีได้หลายรูปแบบ ยาหรือวิธีการรักษาโรคนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขที่ต้นเหตุ คือความ ผิดปกติทางพันธุกรรมที่ผู้ป่วยแต่ละคนมีอยู่ได้ การรักษาที่มีอยู่จึงเป็นเพียงการควบคุมอาการของโรคและรอเวลาให้ปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ ผ่านพ้นไปหรือแพทย์และผู้ป่วยสามารถหาปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบพบแล้วหาทางกำจัดปัจจัยกระตุ้นเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น แพทย์ตรวจพบว่าโรคสะเก็ดเงินกำเริบเพราะมีการ
ติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ฟโตคอคคัสที่คอ แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะทำลายเชื้อสเตร็ฟโตคอคคัสที่คอพร้อมๆไปกับการให้ยาทา
ควบคุมผื่นผิวหนังอักเสบของผู้ป่วยร่วมไปด้วย ผู้ป่วยก็จะหายจากอาการของโรคได้ เป็นที่น่าเสียใจที่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมักจะหาปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบไม่พบหรือบางครั้งหาพบแต่ผู้ป่วยและแพทย์ไม่สามารถกำจัดปัจจัยที่เป็น ตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบไปได้อย่างถาวร ตัวอย่างเช่น ความเครียด ความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ปัญหาทางด้าน
ครอบครัว อาชีพ การงานรวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัวอื่นๆ การ
ควบคุมโรคสะเก็ดเงินให้ได้ดีจึงไม่ใช่การใช้ยาหรือพึ่งแพทย์แต่เพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยและญาติต้องร่วมมือกับแพทย์สังเกตสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยแวดล้อมรอบตัวที่ทำให้โรคกำเริบ คือ ปัจจัยทางเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ ทั้งภายนอกและภายในตัวผู้ป่วย รวมทั้งปัจจัยทางด้านจิตใจด้วย

หลักในการรักษาควบคุมโรคสะเก็ดเงินที่กำเริบ มีดังนี้
1. กำจัด หรือหลีกเลี่ยง ปัจจัยที่กระตุ้น หรือ สนับสนุนให้โรคกำเริบอาจจะเป็นปัจจัยที่อยู่แวดล้อมตัวผู้ป่วย หรืออยู่ในตัวผู้ป่วย
2. ควบคุมรักษา ผื่นหรือปื้นของโรคสะเก็ดเงินที่กำลังเห่อ ด้วยยาหรือแสงอัลตราไวโอเลตโดยเร็ว หรือใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน
3. ผู้ป่วยและญาติ มีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ในการดูแลรักษาผื่นผิวหนังอักเสบของโรคสะเก็ดเงิน กล่าวคือการทำจิตใจให้สงบเย็นไม่เร่าร้อน ศึกษาหาความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ แพทย์ผู้ดูแลรักษามีหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม หรือใช้แสงอัลตราไวโอเลตควบคุมโรค ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป ที่สำคัญแพทย์ควรให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องโรค วิธีการใช้ยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนให้กำลังใจ และความเห็นอกเห็นใจ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้ทราบวิธีปฏิบัติตัว วิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง ทำให้ผลการรักษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่มุ่งหวังไว้ ผู้ป่วยและญาติควรทราบว่า แพทย์ไม่สามารถแก้ไข ความผิดปกติบางอย่างทางพันธุกรรมที่มีอยู่ในเซลล์ของผู้ป่วยได้ ดังนั้น การกำจัด หรือ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้โรคกำเริบจึงมีความสำคัญพอๆ กับการใช้ยาเพื่อควบคุมอาการผื่นผิวหนังอักเสบ เพราะถ้าสามารถกำจัดปัจจัยเหล่านี้ไปได้ ผื่นผิวหนังอักเสบของโรคสะเก็ดเงินก็มีแนวโน้มที่จะสงบลง การใช้ยาหรือแสงอัลตราไวโอเลต จะสามารถควบคุมอาการของโรคได้โดยง่าย ผู้ที่จะทราบว่าปัจจัยกระตุ้นให้ผื่นของโรคสะเก็ดเงินกำเริบดีที่สุด คือผู้ป่วยและญาติที่อยู่ใกล้ชิด ดังนั้นทุกครั้งที่ผื่นโรคสะเก็ดเงินกำเริบเป็นโอกาสดีที่สุดที่ผู้ป่วยและญาติจะได้สังเกตและถามตัวเองว่า ได้ทำกิจกรรมอะไรหรือสัมผัสกับอะไรก่อนหน้าที่ผื่นของโรคจะกำเริบ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อซ่อนเร้นที่อวัยวะใด ได้รับหรือสัมผัสสารเคมีอะไร โดยเฉพาะยา หรือผิวหนังได้รับบาดเจ็บจากสภาวะทางกายภาพอะไรบ้าง เช่นการเสียดสีแกะเกา ปัจจัยทางด้านจิตใจก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเกิดและการกำเริบของโรค ผู้ป่วยที่มีความเครียด เร่าร้อน หงุดหงิด โกรธง่าย ทำให้ผื่นของโรคสะเก็ดเงินเป็นมากขึ้นและไม่สงบ ปัญหาต่างๆ ทางด้านจิตใจ ผู้ที่รู้ดีที่สุดคือ ผู้ป่วยและญาติผู้ใกล้ชิด ทั้งผู้ป่วยและญาติควรได้รับการฝึกฝนทางด้านจิตใจ เพื่อให้รู้จักวิธีพิชิตความเครียด และปล่อยวางปัญหาต่างๆลงบ้าง จะช่วยให้จิตใจของผู้ป่วยปลอดโปร่ง โล่ง สบาย เมื่อจิตใจสงบจะส่งผลไปยังร่างกายให้สงบเย็นลง ผื่นผิวหนังจะควบคุมด้วยยาได้ง่ายขึ้น ขอให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคสะเก็ดเงินทุกคนให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเอาชนะใจตนเองพิชิตความเครียดและโรคที่เป็นอยู่ได้ทุกคน

แนวทางเลือกวิธีการรักษาผื่นโรคสะเก็ดเงิน
ผื่นโรคสะเก็ดเงินมีหลายชนิด การเลือกใช้ยาชนิดใด อย่างไร หรือจะใช้แสงรักษาผื่นผิวหนังที่ผู้ป่วยเป็น ขึ้นกับลักษณะของผื่นและวิจารณญาณของแพทย์ผู้ให้การดูแลรักษา
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกวิธีการรักษามีดังนี้
ลักษณะผื่น
ตำแหน่งของผื่น
ความกว้างของผื่น
ยาหรือเครื่องมือที่แพทย์มีอยู่
ความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วยและญาติ
ความชำนาญของแพทย์ที่เป็นผู้ดูแล

ลักษณะผื่น
ผื่นที่เป็นปื้นหนา ขนาดและจำนวนผื่น โดยรวมน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมด ควรเลือกใช้ยาทาเป็นหลัก ชนิดของยาทาที่เลือกใช้ขึ้นกับแพทย์ผู้ดูแลจะเห็นสมควร

ตำแหน่งของผื่น
ตำแหน่งของผื่นเป็นปัจจัยกำหนดในการเลือกรูปแบบของยาที่จะใช้ทา ตัวอย่างเช่น
ผื่นบริเวณหน้า ข้อพับแขน ขา อวัยวะเพศ การเลือกยาทาจะใช้ครีมสตีรอยด์ที่มีฤทธิ์ไม่แรงมากเพราะผิวหนังบริเวณนี้บอบบาง ยาจะซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ดีจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์แรง ยาทาในรูปขี้ผึ้งเหนอะหนะ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในบริเวณ
ข้อพับ
ผื่นที่ศีรษะหรือบริเวณผิวหนังที่มีขนมาก ยาทาที่เหมาะกับผิวหนังบริเวณนี้ในรูปโลชั่น Solution, Gel เพราะยากลุ่มนี้เป็นของเหลวซึมผ่านลงสู่หนังศีรษะได้ดี ยาในรูปขี้ผึ้งไม่เหมาะที่จะใช้บริเวณนี้
ผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ซึ่งมีผิวหนังชั้นขี้ไคลหนามาก ควรเลือกยาที่มีฤทธิ์แรงหรือยาทาในรูปขี้ผึ้งหรือน้ำมัน เพราะขี้ผึ้งทำให้ผิวหนังอุ้มน้ำและนุ่ม ยาจะซึมผ่านลงสู่ผิวหนังส่วนที่อยู่ลึกได้ดี เทคนิคอีกอย่างหนึ่งในการทำให้ยาซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดีคือการแช่ผิวหนังที่มีสะเก็ดหรือขุยหนาในน้ำอุ่นนาน 5-10 นาที ผิวหนังจะอุ้มน้ำและนุ่มขึ้น เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นพอหมาดๆแล้วจึงทายา จะช่วยให้ยาซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังส่วนลึกได้มากขึ้น เคล็ดลับอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้ยาทาซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้มากขึ้น คือการใช้พลาสติกคลุมบริเวณผื่นที่ทายาแล้วปิดเทปกระดาษโดยรอบขอบพลาสติก เพื่อกันไม่ให้พลาสติกหลุดน้ำจากภายในร่างกายไม่สามารถซึมออกสู่ภายนอกได้ บริเวณนั้นจะชุ่มน้ำและนุ่มทำให้ยาซึมเข้าผิวหนังได้มากเป็น 10 - 100 เท่าของผิวหนังปกติ
ความกว้างของผื่น
ความกว้างของผื่นผิวหนัง บอกถึงความรุ่นแรงของโรคและ
เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาเลือกวิธีการรักษา ผู้ป่วยที่มีผื่นผิวหนังอักเสบจากโรคสะเก็ดเงินกว้างมากกว่า ร้อยละ20-25 ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดจัดเป็นผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงผู้ป่วยกลุ่มนี้เหมาะที่จะใช้ยารับประทาน ยาฉีด หรือใช้แสงอัลตราไวโอเลตในการรักษาโรค ไม่เหมาะที่จะใช้ยาทาเพราะการใช้ยาทามักไม่ทั่วถึงและต้องใช้ยาทาเป็นจำนวนมากทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ยาหรือเครื่องมือที่แพทย์มีอยู่
สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลแต่ละแห่งมียาและเครืองมือทางการแพทย์ไม่เท่ากัน การเลือกวิธีการรักษาจึงขึ้นกับยาและเครื่องมือที่มีอยู่ในโรงพยาบาลแห่งนั้นๆด้วย เนื่องจากยารับประทานบางชนิดมีราคาแพงและเป็นยาใหม่จึงมีอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ใหญ่ๆเท่านั้น แพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
ความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วยและญาติ
ความสะดวกและการยอมรับวิธีการรักษาของผู้ป่วยและญาติ เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา เพราะมิเช่นนั้นผู้ป่วยและญาติจะไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น การรักษาด้วยแสงแดดเทียมผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งถ้าผู้ป่วยบ้านอยู่ไกลไปมาไม่สะดวก หรือผู้ป่วยต้องไปทำกิจการงาน เรียนหนังสือเป็นต้น วิธีการรักษานี้ก็จะไม่เหมาะ บางครั้งผู้ป่วยและญาติกลัวการฉายแสงแดดเพราะเข้าใจว่าเป็นรังสี x-ray ถ้าแพทย์ผู้ดูแลไม่ให้คำแนะนำหรืออธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ การรักษาในระยะยาวก็จะไม่ประสบผลสำเร็จเพราะผู้ป่วยไม่มารับการรักษาตามที่วางแผนการรักษาไว้
ความชำนาญของแพทย์ที่เป็นผู้ดูแล
ความรู้ความสามารถของแพทย์ผู้ดูแลก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการรัษาผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยแต่ละรายไม่ควรคิดไปเองหรือเปรียบเทียบว่าวิธีการรักษาโรคของตนทำไมไม่เหมือนกับผู้ป่วยรายอื่น ควรปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลรักษาและซักถามให้เข้าใจปัญหาโรคของตนเองและปฏิบัติตามที่ได้รับคำแนะนำ
การดูแลรักษาสะเก็ดเงินของหนังศีรษะมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กรณีที่ขุยบนหนังศีรษะไม่หนามาก แนะนำให้สระผมด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันดินร้อยละ 2-8 (Tar shampoo)
2. กรณีที่สะเก็ดหรือขุยบนหนังศีรษะหนาควรทำให้สะเก็ดบนหนังศีรษะนุ่มลงก่อน วิธีทำให้สะเก็ดนุ่มให้ใช้นำมันมะกอก หรือขี้ผึ้งผสม 1-3%Salicylic acid นวดหนังศีรษะทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง หรือทิ้งไว้ข้ามคืน อาจสวมหรือครอบศีรษะด้วยผ้าหรือหมวกพลาสติกคลุมศีรษะทิ้งไว้ข้ามคืน รุ่งเช้าสระผมด้วยน้ำอุ่นและแชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน นวดให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้ 5 นาทีแล้วล้างน้ำออกใช้หวีซี่ถี่ๆค่อยๆขูดสะเก็ดบนหนังศีรษะออก ควรขูดเอาสะเก็ดบนศีรษะออกด้วยวิธีที่นุ่มนวลเพราะการขูดอย่าง
รุนแรงจะทำให้เกิดผื่นสะเก็ดเงินขึ้นใหม่
3. ทาหนังศีรษะด้วยสตีรอยด์ในรูป Lotion หรือ Solution
วันละ 2 ครั้ง ยาจะซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดีกว่าครีมหรือขี้ผึ้ง จะช่วยลดการอักเสบของหนังศีรษะ
4. การใช้วิตามินดี (Calcipotriol) ชนิด Solution นวดหนัง
ศีรษะก็สามารถลดการอักเสบของหนังศีรษะได้
5.เมื่อผื่นและสะเก็ดบนหนังศีรษะหายแล้วควรสระผมด้วยแชมพูยา สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อควบคุมการกลับเป็นซ้ำ
การดูแลรักษาผื่นสะเก็ดเงินของเล็บ
ความผิดปกติของเล็บในโรคสะเก็ดเงินพบได้บ่อย ความชุกของความผิดปกติที่เล็บพบตั้งแต่ร้อยละ 10- 55 เล็บมือเป็นมากกว่าเล็บเท้า ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินของข้อพบมีความผิดปกติของเล็บสูงถึงร้อยละ 70 ความผิดปกติของเล็บมืออาจพบเพียงเล็บเดียวหรือเป็นหลายเล็บ น้อยรายที่จะมีความผิดปกติทั้ง 20 เล็บ ลักษณะความผิดปกติของเล็บมีตั้งแต่ เป็นรอยบุ๋ม วงสีแดงเรื่อๆที่เล็บ จุดเลือดออกใต้เล็บ เล็บร่อนจากพื้นเล็บ จนถึงเล็บขรุขระผิดรูป
การดูแลรักษาเล็บที่ผิดปกติ ยังได้ผลไม่ดี ผู้ป่วยบางรายความผิดปกติของเล็บตอบสนองต่อยาทาสตีรอยด์ แต่ต้องทาเป็นเวลานานและควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะการทายา
สตีรอยด์ที่แรงเป็นเวลานานๆอาจทำให้เกิดผิวหนังบริเวณจมูกเล็บบางลง นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาทากลุ่มวิตามินดี (Calciprotriol ointment) ทาที่จมูกเล็บร่วมกับยาทาสตีรอยด์พบว่าได้ผลในผู้ป่วยบางราย เคล็ดลับในการทายาให้ได้ผลคือ ในรายที่มีขุยหรือสะเก็ดหนาใต้เล็บต้องทำให้สะเก็ดหลุด ยุ่ย เสียก่อนด้วย 30-40 % Urea หรือใช้ 10-20 % Salicylic acid ในรูปครีมหรือขี้ผึ้งทาทิ้งไว้ข้ามคืน ตัดหรือขูดสะเก็ดออกแล้วจึงทายาสตีรอยด์หรือ Calcipotriol ointment ผลการรักษาความผิดปกติของเล็บต้องใช้เวลานานเป็นเดือนๆ ผู้ป่วยจึงต้องมีความอดทนในการทายา เมื่อได้พยายามรักษาจนเต็มที่แล้วผลจะเป็นอย่างไรก็ควรยอมรับ อย่าเครียดเพราะจะไม่เกิดผลดีต่อโรคโดยรวม ปัจจุบันยังคงมีการศึกษาทดลองใช้ยาใหม่ๆในการรักษาความผิดปกติที่เล็บอยู่ หวังว่าจะมีความคืบหน้าไปในทางที่ดี ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ยาทารักษาโรคสะเก็ดเงิน
เมื่อเกิดผื่นแดงที่ผิวหนังของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน อาการที่พบร่วมด้วยคือ แสบร้อนหรือคัน แพทย์มีหน้าที่เลือกใช้ยาหรือแสงอัลตราไวโอเลตเพื่อควบคุมผื่นผิวหนังอักเสบ ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมี 3 กลุ่ม คือ ยาทา ยารับประทาน และยาฉีดโดยมีหลักในการพิจารณาคือ ถ้าผื่นผิวหนังอักเสบไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นผิวของร่างกายให้เลือกใช้ยาทาก่อน ถ้าผื่นผิวหนังอักเสบเกินร้อยละ 20 ของพื้นผิวของร่างกายให้ใช้ยารับประทาน หรือฉายแสงอัลตราไวโอเลต ยาทาที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
1. ยาทาสตีรอยด์ เป็นยาที่ใช้รักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินบ่อยที่สุด ยาทาสตีรอยด์อาจอยู่ในรูปครีม ขี้ผึ้ง เจลหรือสารละลาย (Solution) การเลือกใช้ยาทาสตีรอยด์ชนิดใด ในรูปใดมีหลักพิจารณาดังนี้
ผื่นหนา เป็นตามแขนขา มือหรือเท้าใช้ยาทาสตีรอยด์ฤทธิ์แรงในรูปขี้ผึ้ง
ผื่นบางหรือเป็นบริเวณหน้า ข้อพับต่างๆ ใช้ยาทาสตีรอยด์ฤทธิ์อ่อนหรือแรงปานกลาง ควรเลือกยาทาสตีรอยด์รูปครีมไม่ควรใช้ในรูปขี้ผึ้งเพราะมีฤทธิ์แรงเกินไปและเหนียวเหนอะหนะ
ผื่นที่ศีรษะหนาให้ใช้ยาทาสตีรอยด์ฤทธิ์แรงในรูปครีมเหลวหรือครีมน้ำนม(Milky lotion) ถ้าผื่นที่ศีรษะมีลักษณะบางใช้ยาทาสตีรอยด์รูปน้ำ(Solution) จะซึมเข้าถึงหนังศีรษะได้ดียาทาสตีรอยด์รูปขี้ผึ้งไม่เหมาะกับหนังศีรษะเพราะเหนอะหนะ และทาให้ถึงหนังศีรษะได้ยากเพราะติดเส้นผม
ข้อดีของยาทาสตีรอยด์ คือ ทำให้ผื่นยุบได้เร็ว ใช้ง่าย หาซื้อได้ทั่วๆ ป
ข้อด้อยของยาทาสตีรอยด์ เมื่อใช้ทานานๆจะเกิดภาวะดื้อยา เมื่อผื่นยุบลงถ้าหยุดยาทันทีผื่นมักกลับเป็นใหม่ได้เร็วและรุนแรงขึ้น อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแทรกซ้อนได้ง่าย การใช้ยาทาสตีรอยด์ที่มีฤทธิ์แรงเป็นเวลานานๆ ยาจะถูกดูดซึมได้มาก และกดการทำงานของต่อมหมวกไต มีผลต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกายเหมือนกับการรับประทานยาสตีรอยด์ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบเป็นพื้นที่กว้าง หรือมีผื่นในบริเวณข้อพับ หน้าและบริเวณอวัยวะเพศ การใช้ยาสตีรอยด์จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาทาเองโดยไม่มีความรู้เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ยาสตีรอยด์ชนิดรับประทานและฉีดเป็นข้อห้ามใช้ในโรคสะเก็ดเงิน เพราะจะทำให้โรครุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองหรือโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงทั่วตัว ยา
สตีรอยด์ชนิดรับประทานจะทำให้ผื่นดีขึ้นในระยะแรกที่เริ่มรับประทานเท่านั้นเมื่อรับประทานไปนานๆหรือหยุดยาเมื่อผื่นดีขึ้น โรคสะเก็ดเงินจะกำเริบกลับขึ้นมาใหม่และมักจะรุนแรงมากกว่าเดิม ผู้ป่วยและญาติจึงควรระมัดระวังไม่ไปซื้อยารับประทานเองเพราะยาแก้แพ้ชนิดรับประทานที่ร้านขายยาจัดให้หรือแม้แต่ยาหม้อ ยาลูกกลอนยาจีน ยาสมุนไพรต่างๆ ก็อาจมียาสตีรอยด์ผสมอยู่
2.ยาทากลุ่มน้ำมันดิน (Crude coal tar or wood tars) เป็นสารเคมีพวก Hydrocarbon ที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน หรือต้นไม้ที่ตายทับถมกันมานาน สารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ทำให้ผื่นของโรคสะเก็ดเงินหายได้ กลไกการออกฤทธิ์ของยานี้ยังไม่ทราบแน่ ปัจจุบันน้ำมันดินที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินมีหลายรูปแบบและมีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาดังนี้
แชมพูผสมน้ำมันดิน (Tar shampoo) บางครั้งมีการผสม Salicylic acidในแชมพูที่มีน้ำมันดิน เพื่อช่วยลอกสะเก็ดหนาบนศีรษะ น้ำมันดินที่ผสมอยู่ในแชมพู ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินของหนังศีรษะและโรคขี้รังแคทั่วๆไปได้ด้วยน้ำมันดินผสมอยู่ใน Petrolatum ในความเข้มข้นร้อยละ 2-5 ใช้รักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินที่หนาได้ผลดี โดยเฉพาะผื่นหนาที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
ข้อดีของยากลุ่มน้ำมันดิน คือเมื่อยาออกฤทธิ์ทำให้ผื่น หรือ ปื้น ผิวหนังอักเสบ สงบลง เมื่อผื่นผิวหนัง อักเสบสงบลงมักสงบไปได้ยาวนาน การกลับเป็นซ้ำใหม่เกิดได้แต่ช้ากว่าเมื่อใช้ยาทาสตีรอยด์
ข้อด้อยของยากลุ่มน้ำมันดิน ยานี้ไม่มีบริษัทผลิตสำเร็จรูปขายในห้องตลาดเมืองไทย จะหาซื้อยานี้ได้จากโรงพยาบาลใหญ่ๆทั่วไป ยกเว้น แชมพูผสมน้ำมันดินที่มีผู้ผลิตออกขายในท้องตลาดหลายบริษัท ครีมที่ผสมน้ำมันดิน มีสีและกลิ่นไม่น่าใช้ ผู้ป่วยบางรายทนกลิ่นยาไม่ได้ ข้อด้อยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ยาออกฤทธิ์ช้าไม่ทันใจผู้ป่วยและญาติ ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาทากลุ่มนี้จึงต้องให้เวลานานเป็นสัปดาห์ก่อนที่จะเห็นผลของยา ตำแหน่งที่ไม่ควรใช้ยากลุ่มน้ำมันดินคือ บริเวณหน้า และอวัยวะเพศ เพราะผิวหนังบริเวณนี้บาง เกิดการระคายเคืองได้ง่าย
3.ยากลุ่มแอนทราลินหรือดิทรานอล (Anthralin or Dithranol)
แอนทราลิน เป็นสารเคมีกลุ่ม Hydroxyanthrones สกัดจากผลไม้ประเภทถั่ว (Legume) ที่เรียกว่า Vouacopoura araroba พบในทวีปอเมริกาใต้และเอเชียใต้ สารสกัดจากพืชชนิดนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ต่อมาพบว่ามีฤทธิ์รักษาโรคสะเก็ดเงิน สารในกลุ่มนี้ชนิดแรกที่นำมารักษาโรคสะเก็ดเงินคือ Chrysarobin ต่อมาบริษัท Bayer ในประเทศเยอรมันได้สังเคราะห์สารชนิดหนึ่งที่มีสารโครงสร้างคล้าย Chrysarobin เรียกว่า Cignolin มีฤทธิ์ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินได้ผลดี ประเทศแถบยุโรป เรียก Cignolin ว่า Dithranol ประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Anthralin
กลไกการออกฤทธิ์
กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจน ยามีฤทธิ์กดการสร้าง mitochondrial DNA ลดการหมุนเวียนของเซลล์ จึงมีฤทธิ์กดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กดการอักเสบโดยห้ามการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว(Neutrophil,Monocyte) ยานี้จึงใช้ได้ผลดีในผื่นของโรคสะเก็ดเงิน ยาแอนทราลิน มีใช้กันอยู่ในรูปขี้ผึ้ง ครีมหรือ zinc paste ความ เข้มข้นร้อยละ 0.05-4 เนื่องจากยานี้ระคายผิวหนังมากไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ที่บริเวณหน้า ข้อพับต่างๆ การทายาต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกผิวหนังปกติ นอกจากนี้ยายังเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนและล้างออกยาก ปัจจุบันมีบริษัทได้ผลิตยาแอนทราลินละลายในครีมไขมันที่เป็นของแข็งในอุณหภูมิห้องเมื่อทาลงบนผิวหนังครีมนี้จะปล่อยยาแอนทราลินออกสู่ผิวหนัง ครีมชนิดนี้สามารถล้างน้ำออกได้ง่าย เทคนิคการทายาแอนทราลินให้เกิดผลข้างเคียงน้อย คือ ใช้ยาในรูปที่ละลายน้ำ (Water soluble vehicle) ทาบนผื่นสะเก็ดเงินทิ้งไว้นาน 10-30 นาทีแล้วล้างออก ถ้าไม่พบอาการระคายเคืองก็ค่อยๆเพิ่มเวลาทายาครีมแอนทราลินให้นานออก เทคนิคนี้ช่วยลดผลข้างเคียงของยาแอนทราลินได้ ช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น ปัจจุบันมีบริษัทนำเข้ายาครีมแอนทราลินมาจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ผลการรักษาด้วยยานี้ใช้เวลานานกว่ายาสตีรอยด์ ราคายาสูง แต่ยานี้ใช้ได้ผลดีกับปื้นผิวหนังอักเสบของโรคสะเก็ดเงินที่หนาๆ
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาแอนทราลิน มีดังนี้
ผื่นโรคสะเก็ดเงินที่เป็นปื้นหนา (Stable chronic plaque type of psoriasis) ปื้นหนาของโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะ
การใช้ยาครีมแอนทราลินควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และพยาบาลที่มีความรู้เรื่องยา

ข้อควรระวังในการใช้ยาทาแอนทราลิน
ไม่ควรใช้กับผื่นโรคสะเก็ดเงินที่แดงและมีน้ำเหลืองเพราะยามีฤทธิ์ระคายเคืองอาจทำให้โรคกำเริบกลายเป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองกระจายทั่วตัว
ไม่ควรใช้กับผื่นโรคสะเก็ดเงินบริเวณ หน้า คอ ข้อพับ ขาหนีบ อวัยวะเพศ เพราะเกิดการระคายเคืองได้ง่าย
ไม่ใช้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาแอนทราลิน
4. Salicylic acid เป็นกรดผสมอยู่ในครีมหรือขี้ผึ้งมีฤทธิ์ช่วยลอกสะเก็ด ขุย บนผื่นสะเก็ดเงิน ความเข้มข้นที่มีใช้อยู่ในรูปครีมSalicylic 2-5%หรือขี้ผึ้ง 5-10% ใช้ทาผื่นสะเก็ดเงินที่หนาๆ จะช่วยลดขุยและลอกสะเก็ดบนผื่นของโรคสะเก็ดเงินช่วยให้ยาทาชนิดอื่นซึมผ่านเข้าผิวหนังได้ดี ยานี้เหมาะที่จะใช้ในบริเวณศีรษะ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ที่ผื่นหนามาก ไม่ควรใช้บริเวณข้อพับและในเด็ก เพราะกรด Salicylic อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจนเกิดพิษ
5. ยาทากลุ่มอนุพันธุ์ของวิตามิน ดี3 (Calcipotriol) เป็นสารในกลุ่มวิตามิน D3 ออกฤทธิ์เหมือน ๆ กัน Calcipotriol มีทั้งในรูปครีม ขี้ผึ้ง หรือ Solution เป็นสารที่ไม่มีสีหรือกลิ่นเหม็น จึงแก้ปัญหาของ ยากลุ่มน้ำมันดินและแอนทราลินไปได้
กลไกการออกฤทธิ์
สารในกลุ่มวิตามิน D3, Calcipotriol ออกฤทธิ์กดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังและทำให้เซลล์ผิวหนังเจริญสมบูรณ์ (Terminal differentiation) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยลดการสร้างสารสื่อกลาง(Chemical mediator)
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาทา Calcipotriol มีดังนี้
ใช้ทาผื่นของโรคสะเก็ดเงินชนิดปื้นหนาโดยทาวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรใช้ยานี้ในรูปขี้ผึ้งที่บริเวณใบหน้า ข้อพับ เพราะเหนอะหนะ และระคายเคืองผิวหนังง่าย ควรเลือกใช้ยา Calcipotriolในรูปครีมจะช่วยลดผลข้างเคียงดังกล่าวได้ ผลการรักษาที่ชัดเจนใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ แพทย์จึงควรต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบก่อนใช้ จำนวนยาที่ใช้ไม่ควรเกิน 100 กรัม/สัปดาห์
ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินของหนังศีรษะ มีการศึกษาทดลองใช้ Calcipotriol solution รักษาโรคสะเก็ดเงินที่หนังศีรษะพบว่าได้ผลในบางราย รายที่ผื่นบนศีรษะมีสะเก็ดหนามากควรต้องลอกสะเก็ดออกก่อนโดยการหมักหนังศีรษะด้วยน้ำมันมะกอก หรือใช้กรด Salicylic รูปครีม หรือขี้ผึ้งทาลอกสะเก็ดที่หนังศีรษะก่อนทา Calcipotriol
ข้อควรระวังในการใช้ยา Calcipotriol
ข้อควรระวังคือยานี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังปกติที่อยู่รอบๆ ผื่น หรือทำให้ผื่นแดงขึ้นได้ จึงควรแนะนำผู้ป่วยให้หยุด ลดจำนวนครั้งที่ทายา หรือทายาให้บางลง เมื่อเกิดอาการแดงขึ้นภายหลังจากที่ทายา เมื่อลดจำนวนครั้งที่ทาหรือลดจำนวนยาทาที่ใช้แล้วยังมีอาการแดง แสบ ระคายเคืองที่ผื่นก็ควรเปลี่ยนไปใช้ยาทาชนิดอื่น ปัญหาสำคัญของยา Calcipotriol อีกอย่างหนึ่งคือราคายาค่อนข้างสูง
6.ยาทากลุ่มเรตินอล เป็นที่ทราบกันดีว่าวิตามินเอ มี
บทบาทในการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจึงมีการศึกษาทดลองและนำวิตามินเอตามธรรมชาติมาใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีสะเก็ดหนา พบว่าผลข้างเคียงของยาในรูปรับประทานสูง ต่อมาจึงมีการสังเคราะห์ยากลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอขึ้นมีทั้งในรูปรับประทานและทาเฉพาะที่ ได้มีการนำยากลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอ มาใช้ในการรักษาโรคผิวหนังหลายชนิดเช่น สิว ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา รวมทั้งโรคสะเก็ดเงินด้วย ยาทากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinol) เริ่มมีการศึกษาและนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินบ้างแล้ว ผลการรักษายังอยู่ในระยะศึกษาทดลอง และยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยจึงจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดในที่นี้ ยานี้มีชื่อว่า Tazarotene สำหรับยาอนุพันธุ์วิตามินเอในรูปรับประทานมีการนำมาใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมานานจะได้กล่าวถึงต่อไปในหัวข้อยารับประทาน

7.ยาทาให้ผิวชุ่มชื้น (Emollients)
ผื่นผิวหนังอักเสบของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะไวต่อปัจจัยกระตุ้นภายนอกมากเปรียบเหมือนกับคนที่กำลังโกรธถ้ามีอะไรมากระทบจะเกิดอาการอาละวาดฟาดหางกับผู้ที่อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นของโรคกำลังอักเสบแดง นอกจากการใช้ยาทารักษาอาการอักเสบของผิวหนังแล้ว ควรทายาเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังบ่อยๆด้วยเพื่อเป็นการช่วยลดอาการระคายเคือง และลดการอักเสบของผื่นผิวหนังลงไปได้อีกทางหนึ่ง
ที่มา http://www.si.mahidol.ac.th/project/psoria/index.asp

29 ก.ย. 2553

เขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

พิกัด: 14°27′0″N, 101°24′0″E
ประเทศ: ประเทศไทย
ที่ตั้ง: จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรี
จัดตั้ง: 18 กันยายน พ.ศ. 2505
พื้นที่ 1,355,396.96 ไร่ (2,168.63 ตร.กม.)[1]
นักท่องเที่ยว: 1,251,259[2] คน (ปีงบประมาณ 2549)
ดูแลโดย: สำนักอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญานามว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน"

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีเนื้อที่ปกคลุม 2,168 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พืชพรรณมี 3,000 ชนิด,นกมี 250 ชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 67 ชนิด ซึ่งได้แก่ ช้าง เสือ ชะนี กวาง และหมูป่า พบอยู่ตามทุ่งหญ้ากว้างทั่วๆ ไป

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 ภูเขาที่สำคัญ
2.1 เขาร่ม
2.2 เขาแหลม
2.3 เขาเขียว
2.4 เขาสามยอด
2.5 เขาฟ้าผ่า
2.6 เขากำแพง
2.7 เขาสมอปูน
2.8 เขาแก้ว
3 แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
3.1 น้ำตกเหวนรก
3.2 น้ำตกผากล้วยไม้
3.3 น้ำตกเหวสุวัต
3.4 จุดชมวิวผาเดียวดาย
3.5 จุดชมวิวผาตรอมใจ
3.6 หนองผักชี
3.7 หอดูสัตว์
3.8 จุดชมวิว กม.30
3.9 ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่
4 โป่ง
5 การเดินทาง
6 สิ่งอำนวยความสะดวก
6.1 ที่พัก
6.2 สถานที่กางเต็นท์
6.3 ร้านอาหาร
6.4 ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
6.5 ระบบสาธารณูปโภค
6.6 สุขา
7 ค่ายลูกเสือ
8 อ้างอิง
9 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ประวัติ
ในสมัยก่อน การเดินทางติดต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานนั้น มีอุปสรรคคือจะต้องผ่านป่าดงดิบขนาดใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายมากมายทั้งสัตว์ร้ายและไข้ป่า ผู้คนที่เดินทางผ่านป่านี้ล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงได้ขนานนามว่า ดงพญาไฟ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านในคราวเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา ทรงเห็นว่าชื่อดงพญาไฟนี้ ฟังดูน่ากลัว จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็นดงพญาเย็นตั้งแต่นั้นเป็นมา

เมื่อมีการสร้างทางรถไฟ ชาวบ้านก็ได้เข้ามาจับจองพื้นที่กัน โดยเฉพาะบนยอดเขา โดยถางป่าเพื่อทำไร่ และในปี 2465 ได้ขอจัดตั้งเป็นตำบลเขาใหญ่ แต่ด้วยการที่จะเดินทางมายังยอดเขานี้ค่อนข้างลำบากห่างไกลจากการปกครองของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตำบลเขาใหญ่จึงเป็นแหล่งซ่องสุมของโจรผู้ร้าย จนกระทั่งปี 2475 ทางราชการได้ส่งปลัดจ่างมาปราบโจรผู้ร้ายจนหมด แต่สุดท้ายปลัดจ่างก็เสียชีวิตด้วยไข้ป่า ได้ตั้งเป็นศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เป็นที่เคารพนับถือจนปัจจุบันนี้[3]

หลังจากปราบโจรผู้ร้ายหมดลงแล้ว ทางราชการเห็นว่าตำบลเขาใหญ่นี้ยากแก่การปกครอง อีกทั้งปล่อยไว้จะเป็นแหล่งซ่องสุมโจรผู้ร้ายอีก จึงได้ยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเขาทั้งหมดย้ายลงมาอาศัยอยู่ข้างล่าง ป่าที่ถูกถางเพื่อทำไร่นั้นปัจจุบันคือยังมีร่องรอยให้เห็นเป็นทุ่งหญ้าโล่งๆ บนเขาใหญ่นั่นเอง

ปี 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เล็งเห็นว่าบริเวณเขาใหญ่นี้ มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีความสวยงาม เหมาะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่มีปัญหาคือมีการตัดไม้ทำลายป่า จึงได้ให้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณตำบลเขาใหญ่เดิมและบริเวณโดยรอบและได้ตราพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติขึ้น ตั้งเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติในปี 2505 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้ตัดถนนธนะรัชต์แยกออกมาจากถนนมิตรภาพมายังตัวเขาใหญ่ โดยถนนนี้ขึ้นมาบนเขาใหญ่แล้วจะแยกเป็นสองสาย คือไปสิ้นสุดที่น้ำตกเหวสุวัตสายหนึ่ง และไปสิ้นสุดที่เขาเขียวอีกสายหนึ่ง ซึ่งก่อนปี 2525 ถนนธนะรัชต์นี้เป็นเพียงถนนสายเดียวที่จะมายังเขาใหญ่ได้

ในปี 2523 ได้มีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่ [4] โดยถนนนี้เปิดใช้งานในปี 2525 ทำให้สามารถเดินทางได้สะดวกขึ้น และเดินทางจากกรุงเทพมหานครใช้ระยะทางสั้นกว่า อีกทั้งเส้นทางยังชันและมีโค้งหักศอกน้อยกว่าถนนธนะรัชต์เดิม อีกทั้งยังทำให้การท่องเที่ยวในส่วนใต้ของอุทยานสะดวกขึ้น เช่น สามารถเดินทางมายังน้ำตกเหวนรกได้โดยตรง ซึ่งแต่เดิมจะต้องเดินเท้าเข้ามาจากอำเภอปากพลีแล้วเลาะมาตามหน้าผา แต่การตัดถนนใหม่สามารถนำรถยนต์เข้าไปจอดแล้วเดินเท้าประมาณ 1 กิโลเมตรก็ถึงน้ำตกเหวนรกได้แล้ว

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่”

[แก้] ภูเขาที่สำคัญ
[แก้] เขาร่ม
เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยสูง 1,351 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขาร่มสามารถมองเห็นได้จากถนนธนะรัชต์ เป็นแนวเขาขนานกับเขาเขียว การเดินทางไปยังเขาร่มนั้นต้องเดินเข้าไปด้วยเท้า ซึ่งมีน้อยคนนักที่เดินทางขึ้นไปถึงยอดเขาร่ม โดยมากจะเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้เท่านั้น

[แก้] เขาแหลม
เนื่องจากเป็นเขาที่มียอดแหลมจึงได้ชื่อว่าเขาแหลม เขาแหลมมีความสูงรองจากเขาร่ม การเดินทางต้องเดินเท้าเข้าไปเช่นกันโดยเส้นทางยากลำบากมาก ใช้เวลาเดินไม่ต่ำกว่า 7 ชั่วโมง และก่อนถึงยอดเขาจะต้องโหนเชือกขึ้นไปเพื่อไปยังยอดเขา ด้วยเส้นทางที่ยากลำบากนี้ สโมสรโรตารีเคยตั้งรางวัลให้กับสตรีที่พิชิตยอดเขาแหลมเป็นเงิน 60,000 บาท โดยผู้ได้รับรางวัลคือ นางแคทเธอรีน บ.บุรี ได้พิชิตยอดเขาแหลมในปี 2515

ความสำคัญของเส้นทางไปยอดเขาแหลมคือ เส้นทางที่ใช้เดินทางจะผ่านทางเดินของสัตว์หลายชนิด จึงพบรอยเท้าสัตว์ได้มากมาย อีกทั้งยังมีโอกาสพบสัตว์ป่าต่างๆ ได้อีกด้วย

[แก้] เขาเขียว

เขาเขียว มองจากถนนทางขึ้นเขาเขียวเป็นภูเขาสูงอีกลูกหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ลักษณะเป็นทิวเขายาว มองเห็นได้จากทางจังหวัดนครนายก การเดินทางไปยังเขาเขียวสามารถเดินทางได้โดยรถยนต์ไปถึงยอด โดยบนยอดของเขาเขียวเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศ ซึ่งเปิดให้เป็นจุดชมวิว อีกทั้งยังมีจุดชมวิวและศึกษาเส้นทางธรรมชาติผาเดียวดาย ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากจุดหนึ่ง

[แก้] เขาสามยอด
ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญ อีกทั้งยังมีสัตว์ป่าชุกชุม การเดินทางไปเขาสามยอดต้องเดินเท้าเข้าไป ใช้เวลาราว 6-8 ชั่วโมง เส้นทางนี้มีทากชุกชุมมาก

[แก้] เขาฟ้าผ่า
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเช่นกัน เขาฟ้าผ่าเป็นต้นกำเนิดของลำนางรองซึ่งไหลเป็นน้ำตกนางรองในจังหวัดนครนายก นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุสื่อสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตั้งอยู่อีกด้วย การเดินทางจะต้องผ่านถนนลูกรังโดยใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเข้าไป

[แก้] เขากำแพง

เขากำแพง มองจากอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง1เป็นเทีอกเขาแนวยาวราวกับกำแพงจึงได้ชื่อว่าเขากำแพง โดยเขากำแพงนี้เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสำคัญ เช่น ลำพระเพลิง ลำพระยาธาร ลำใสใหญ่ เป็นต้น

[แก้] เขาสมอปูน
เห็นได้ชัดจากจังหวัดปราจีนบุรีและนครนายก ชาวบ้านบางคนเรียกว่าเขาสูง สามารถเดินทางเข้ามาโดยไปตามเส้นทางที่ชาวบ้านหาของป่าเป็นประจำ และเส้นทางนี้สามารถทะลุมายังน้ำตกเหวนรกได้อีกด้วย

[แก้] เขาแก้ว
อยู่ทางทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นต้นกำเนิดของห้วยคลองมะเดื่อและห้วยเจ็ดคต




จะเห็นได้ว่า ไม่มีเขาลูกใดชื่อ "เขาใหญ่" เลย การที่เรียกบริเวณนี้ว่าเขาใหญ่นั้นเรียกตามตำบลเดิมที่เคยจัดตั้งมาแต่ก่อนเท่านั้น

[แก้] แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
[แก้] น้ำตกเหวนรก

น้ำตกเหวนรกเป็นน้ำตกที่เกิดจากคลองท่าด่าน น้ำตกเหวนรกเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นน้ำตกที่มีความสูงและสวยงามมากแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่เดิมก่อนที่จะมีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่นั้น จะต้องเดินเท้าเข้ามาโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง แต่หลังจากตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่เสร็จแล้ว ถนนตัดผ่านใกล้น้ำตกเหวนรกมาก โดยมีลานจอดรถห่างจากตัวน้ำตกเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น ระหว่างทางสามารถเดินชมธรรมชาติอันสวยงามสองข้างทางได้ เมื่อถึงตัวน้ำตกจะมีบันไดลงไปอีกราว 50 เมตร ซึ่งค่อนข้างแคบและชัน แต่เมื่อลงไปถึงจุดชมวิวก็จะเห็นความยิ่งใหญ่อลังการของน้ำตกได้อย่างสวยงาม หากไปในฤดูฝนมีน้ำมาก ละอองน้ำจะกระเซ็นต้องกับแสงอาทิตย์เป็นสายรุ้งอย่างงดงาม แต่หากมาชมในหน้าแล้งนั้นอาจต้องผิดหวังเพราะไม่มีน้ำ เห็นแต่เพียงหน้าผาแห้งๆ เท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้ว น้ำตกเหวนรกนั้นมีอยู่ 2 ชั้น ที่ได้ชมนี้เป็นชั้นที่ 1 โดยมีความสูงของตัวน้ำตกประมาณ 50 เมตร ส่วนชั้นที่ 2 นั้นอยู่ห่างออกไป ซึ่งชั้นที่สองนี้มีความสูงมากกว่าชั้นแรกเสียอีก เพียงแต่ไม่มีทางเดินเพื่อไปชมน้ำตกชั้นที่สอง ภาพถ่ายน้ำตกเหวนรกที่มีภาพชั้นที่สองด้วยมีแต่ที่เป็นภาพถ่ายทางอากาศเท่านั้น

ระหว่างทางเดินมายังน้ำตกเหวนรกนี้ จะสังเกตเห็นแนวคันปูนเป็นระยะ สร้างขึ้นเพื่อป้องกันช้างพลัดตกไปยังน้ำตก เนื่องจากในปี 2535 มีช้างโขลงหนึ่งจำนวน 8 ตัวหลงเข้ามาและถูกกระแสน้ำพัดตกลงไปตายหมด ทางอุทยานแห่งชาติจึงได้สร้างแนวป้องกันนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายแก่ช้างป่ามิให้เกิดขึ้นอีก

[แก้] น้ำตกผากล้วยไม้

น้ำตกผากล้วยไม้เกิดจากห้วยลำตะคอง การเดินทางมาจะต้องจอดรถที่ลานกางเต๊นท์ผากล้วยไม้ แล้วเดินเท้าเลาะไปตามห้วยลำตะคอง ผ่านป่าดงดิบตลอดทาง หากโชคดีอาจพบนกบางชนิด เช่น นกกางเขนหลังเทา เมื่อเดินเข้ามาประมาณ 1.2 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกผากล้วยไม้ มีป้ายเขียนเอาไว้ชัดเจน น้ำตกผากล้วยไม้นั้นลักษณะเป็นผาไม่สูงนัก ชื่อน้ำตกผากล้วยไม้นี้มาจากมีกล้วยไม้หลายชนิดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกล้วยไม้หวายแดง ซึ่งจะออกดอกช่วงเดินเมษายน

ปกติแล้วนักท่องเที่ยวจะนิยมชมน้ำตกบริเวณด้านนอกเท่านั้น แต่หากเดินเลาะไปตามโขดหินอีกประมาณ 100 เมตร ก็จะพบน้ำตกชั้นใน ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้กัน และหากเดินเลาะมาตามห้วยลำตะคองเรื่อยๆ ก็จะมาทะลุถึงน้ำตกเหวสุวัตได้

[แก้] น้ำตกเหวสุวัต

น้ำตกเหวสุวัตเป็นน้ำตกอีกแห่งที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยเกิดจากห้วยลำตะคองไหลตกผ่านหน้าผาสูงราว 25 เมตร และมีแอ่งน้ำทางด้านล่างเหมาะแก่การเล่นน้ำเป็นอย่างมาก แต่ทางอุทยานแห่งชาติได้มีป้ายประกาศว่าห้ามเล่นน้ำไว้เนื่องจากกลัวอันตรายว่าจะมีน้ำป่าไหลหลากเฉียบพลัน ในฤดูฝนสายน้ำที่ตกลงมาจะเป็นละอองกระจายเต็มไปหมด ทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบาย แต่หากมาในฤดูน้ำน้อย จะสามารถเดินลัดเลาะเพื่อเข้าไปยังโพรงถ้ำเล็กๆ ใต้หน้าผาน้ำตกได้

บางคนกล่าวไว้ว่า ชื่อน้ำตกเหวสุวัตนี้ เกิดจากมีโจรชื่อสุวัต หนีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาจนมุมยังน้ำตกแห่งนี้ เลยตัดสินใจกระโดดลงมายังแอ่งน้ำเบื้องล่าง แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรยืนยัน เป็นเพียงเรื่องเล่าต่อๆ กันมาเท่านั้น

สำหรับห้วยลำตะคองนี้ หลังจากผ่านน้ำตกเหวสุวัตแล้ว ยังมีน้ำตกเหวไทรและน้ำตกเหวประทุนที่อยู่ลึกเข้าไปอีก แต่จะต้องเดินผ่านป่าลึกฝ่าดงทากเข้าไป ควรมีเจ้าหน้าที่นำทางไปด้วยเนื่องจากในป่าลึกนั้นเส้นทางไม่ชัดเจน อาจพลัดหลงได้ง่าย

[แก้] จุดชมวิวผาเดียวดาย
อยู่บนยอดเขาเขียว สามารถขับรถยนต์เข้าไปถึงแต่ถนนไม่ค่อยดีนักเนื่องจากมีหินถล่มบ่อยทำให้ผิวถนนเสียหายเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ถนนยังชันและเป็นโค้งหักศอกอีกด้วย เมื่อขึ้นไปเกือบถึงยอดเขาก็จะมีที่จอดรถให้บริเวณใกล้กับผาเดียวดาย ซึ่งระหว่างทางจะเดินผ่านเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยเส้นทางนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณต่างๆ มากมาย ที่น่าสนใจ เช่น ช้องนางคลี หญ้าข้าวกล่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้ใหญ่อื่นๆ ซึ่งมักถูกปกคลุมด้วยมอสเป็นสีเขียวแลดูสดชื่น และยังมีไม้หอมพวกกฤษณาอีกด้วย ใช้เวลาเดินผ่านป่าดิบชื้นนี้ประมาณ 15 นาที ก็จะถึงจุดชมวิวผาเดียวดาย แลเห็นเขาสมอปูนทางขวามือและทุ่งงูเหลือมอยู่ตรงกลาง

หากโชคดี เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาเดียวดายนี้ อาจพบนกหายากบางชนิด เช่น นกเงือก นกปรอดดำ นกแซงแซวหางบ่วง เป็นต้น

[แก้] จุดชมวิวผาตรอมใจ

ทัศนียภาพบริเวณผาตรอมใจตั้งอยู่เลยทางเข้าเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาเดียวดายไปอีกเล็กน้อย คือเป็นทางเข้าของศูนย์เรดาร์ของกองทัพอากาศ บริเวณนี้จริงๆ แล้วเป็นเขตทหาร แต่ได้จัดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้บริเวณจุดชมวิวผาตรอมใจ เมื่อมองออกไปจะแลเห็นทุ่งหญ้ากว้างไกลสุดลูกหูลูกตา บริเวณนี้ค่อนข้างเงียบสงบเนื่องจากเป็นเขตทหารและอยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นอีกทั้งการเดินทางมาก็ค่อนข้างลำบากเพราะไกลและถนนไม่ดี มีคนมาน้อย บรรยากาศเงียบสงบจึงมีนกหลายชนิดให้ศึกษา บางวันจะมีช่างภาพพร้อมกล้องถ่ายรูปและเลนส์ขนาดใหญ่สำหรับถ่ายภาพนกมานั่งเงียบๆ คอยนกมาเกาะบนกิ่งไม้แล้วถ่ายภาพ

จริงๆ แล้วข้างในศูนย์เรดาร์ยังมีหน้าผาหินอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีวิวสวยไม่แพ้กัน แต่ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชม

[แก้] หนองผักชี

หนองผักชีแต่เดิมนั้นเคยมีชาวบ้านขึ้นมาจับจองพื้นที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่ และถางป่าเพื่อปลูกพืชผักบางอย่าง เช่น ผักชี พริก เป็นต้น โดยอาศัยแหล่งน้ำคือหนองผักชีนี้เพื่อการเกษตรกรรม เมื่อทางการได้สั่งให้อพยพออกจากเขาใหญ่ พื้นที่ที่เคยปลูกพืชก็ถูกทิ้งร้างมีหญ้าขึ้นสูง เป็นแหล่งอาหารให้กับสัตว์กินพืชซึ่งจะลงมากินหญ้าที่บริเวณนี้เป็นประจำ ทางอุทยานแห่งชาติได้สร้างหอดูสัตว์หนองผักชีเพื่อใช้ดูสัตว์ที่ลงมากินหญ้า โดยสัตว์มักลงมากินหญ้าตอนเช้าตรู่และตอนเย็น[5]

[แก้] หอดูสัตว์
ทางอุทยานแห่งชาติได้สร้างขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้ดูสัตว์ี่ที่ลงมากินดินโป่ง มีทั้งหมด 3 แห่งคือ

1. หอดูสัตว์หนองผักชี

2. หอดูสัตว์มอสิงโต

3. หอดูสัตว์คลองปลากั้ง

โดยทั้งหมดนี้จะสร้างใกล้ๆ โป่ง เนื่องจากสัตว์จะลงมากินดินโป่ง ซึ่งโดยมากที่เห็นจะเป็นกวาง ช้างป่ามีบ้างแต่น้อยกว่า และหากโชคดีอาจมีโอกาสได้เห็นกระทิงลงมากินดินโป่งซึ่งหาชมได้ยากมาก โดยโอกาสเห็นกระทิงนั้นจะพบที่หอดูสัตว์คลองปลากั้งมากที่สุด




[แก้] จุดชมวิว กม.30
หากเดินทางมาจากฝั่งปราจีนบุรี จุดชมวิวนี้เป็นจุดแวะสุดท้ายก่อนจะลงจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปยังฝั่งอำเภอปากช่อง โดย ณ จุดนี้นักท่องเที่ยวมักนิยมแวะถ่ายภาพเป็นที่ระลึกก่อนลงจากเขาใหญ่ เนื่องจากจะเห็นวิวข้างหลังยาวออกเป็นเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนสวยงาม และในวันที่เงียบสงบ อาจเห็นนกหลายชนิดมาเกาะตามกิ่งไม้ในบริเวณนี้ ซึ่งจะมีช่างภาพมาตั้งกล้องถ่ายภาพนกอยู่บ้างเป็นบางครั้ง


ทัศนียภาพบริเวณจุดชมวิว กม.30ทิวทัศน์ที่แลเห็นได้จากจุดนี้มีดังนี้คือ เขาลูกซ้ายมือคือเขาลูกช้าง มีถ้ำค้างคาวอยู่ เวลาโพล้เพล้อาจเห็นค้างคาวบินออกมาจากถ้ำเป็นสายเพื่อไปหาอาหาร เห็นเป็นเส้นสีดำเป็นแนวยาวตัดกับขอบฟ้า ทิวเขาที่ใกลที่สุดเป็นแนวยาวนั้นคือ เขาแผงม้าซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายสิบกิโลเมตร ทุ่งโล่งตรงกลางในเงาเมฆนั้นเป็นร่องรอยการถางป่าเพื่อทำไร่ก่อนจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตรงทุ่งโล่งนี้จะเห็นบ้านคนอยู่จำนวนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของบ้านท่ามะปราง และทางขวามือจะเห็นยอดเขาเล็กๆ อีกสามสี่ยอด เป็นส่วนหนึ่งของเขากำแพงซึ่งยาวออกไปทางทิศตะวันออก

[แก้] ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่
ตั้งอยู่บนหลักกิโลเมตรที่ 23 ของถนนธนรัชต์ โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชติ์ดำริให้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงปลัดจ่าง ผู้ปราบโจรบนเขาใหญ่ได้สำเร็จเมื่อกว่า 70 ปีก่อน นักท่องเที่ยวนิยมมาสักการะอยู่เสมอ และทุกวันที่ 26 มกราคม จะมีพิธีบวงสรวงเพื่อรำลึกถึงพระคุณของปลัดจ่างที่ได้ดูแลพื้นที่บริเวณนี้ในอดีต

[แก้] โป่ง

โป่งชมรมเพื่อนโป่งเป็นดินชนิดหนึ่ง มักเป็นดินเนื้อละเอียด ในดินโป่งนี้จะมีแร่ธาตุต่างๆู ในปริมาณสูง ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาสมดุลในร่างกายของสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์กินพืชต่าง จะต้องการเกลือแร่เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย อีกทั้งดินโป่งยังมีแคลเซียม ซึ่งจำเป็นในการสร้างและบำรุงเขาสัตว์นั้นๆ โดยจะเห็นสัตว์ต่างๆ ลงมากินดินโป่งอยู่เนืองๆ เราจึงสามารถใช้โป่งนี้เป็นที่ส่องสัตว์ได้

โป่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น โป่งหนองผักชี โป่งช้าง โป่งกระทิง และโป่งชมรมเพื่อน โดยโป่งชมรมเพื่อนนี้เป็นโป่งเทียม คือมนุษย์เป็นผู้เอาเกลือแร่ไปใส่ไว้ในดินให้สัตว์กินนั่นเอง สร้างตั้งแต่ปี 2517 นอกจากนี้ โป่งธรรมชาติก็จะมีการเติมเกลือแร่ด้วย

ปัญหาที่สำคัญคือ มนุษย์ได้เข้ามาใกล้โป่งเพื่อดูสัตว์ จะทำให้สัตว์ตื่นกลัวและไม่ลงมากินดินโป่งอีก บางโป่งก็อาจร้างไปเลยก็มี เช่น โป่งหนองผักชี แต่เดิมเคยมีกระทิงลงมากินดินโป่งเป็นประจำแต่ปัจจุบันไม่พบกระทิงลงมากินดินโป่งนี้อีกเลย โดยพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2524

ตัวอย่างสำคัญที่ยืนยันว่าการรบกวนของมนุษย์มีผลต่อการกินดินโป่งของสัตว์ กล่าวคือ แต่เดิมมีโป่งหนึ่งเป็นโป่งขนาดใหญ่ มีสัตว์หลายชนิดมากินดินโป่งประจำ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นโป่งร้างไปเสียแล้ว คือโป่งเครื่องบินตก โดยได้ชื่อมาจากเครื่องบินของสายการบินอาหรับได้เกิดอุบัติเหตุตกในบริเวณนี้ (ตรงกับบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 บนถนนธนะรัชต์) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 23 คน เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ถางป่าเป็นทางเพื่อลำเลียงศพผู้เคราะห์ร้ายออกมาจากซากเครื่องบิน และภายหลังจากนั้นได้ตัดเส้นทางจากที่ถางป่าเข้าไปยังซากเครื่องบินตกแล้วตัดไปยังน้ำตกเหวสุวัตเพื่อเป็นเส้นทางเดินป่า อีกทั้งบริเวณโป่งยังได้สร้างห้างไว้ดูสัตว์เวลากลางคืนอีกด้วย ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดการรบกวนสัตว์ป่า ส่งผลโป่งเครื่องบินตกกลายเป็นโป่งร้างไปในที่สุด

[แก้] การเดินทาง
การเดินทางมายังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สามารถเดินทางได้ 2 ทางดังนี้


ช้างป่าออกหากินบนถนนธนะรัชต์1. ขึ้นเขาฝั่งปากช่อง ซึ่งเป็นเส้นทางดั้งเดิม สร้างตั้งแต่ปี 2505 โดยเดินทางผ่านถนนมิตรภาพ เมื่อถึงช่วงอำเภอปากช่องจะมีทางแยกเข้าถนนธนะรัชต์ จากถนนมิตรภาพเข้ามาตามถนนธนะรัชต์ประมาณ 20 กิโลเมตรก็จะถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งใกล้กันนั้นเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ หรือปลัดจ่างผู้ปราบโจรบนเขาใหญ่เมื่อ 80 ปีก่อน โดยจากด่านเก็บค่าธรรมเนียมนี้ ต้องเดินทางไปอีกประมาณเกือบ 20 กิโลเมตรจึงจะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เส้นทางนี้ค่อนข้างชันเมื่อเทียบกับเส้นใหม่ที่ขึ้นเขาฝั่งปราจีนบุรี สองข้างทางเป็นป่าดิบ มีดงเสือ ดงงูเห่า และดงช้างเป็นต้น ซึ่งนานๆ ครั้ง อาจเห็นสัตว์ออกมาเดินบนถนนใหญ่ โดยเฉพาะลิงซึ่งอาจมีมากเป็นร้อยตัวและมีกีดขวางการจราจร ควรใช้ความระมัดระวังในการขับรถเป็นอย่างมากเนื่องจากมีอุบัติเหตุขับรถชนลิงอยู่บ่อยๆ

2. ขึ้นเขาฝั่งปราจีนบุรี เป็นทางที่ตัดขึ้นใหม่ในปี 2525 ซึ่งหากเดินทางมาจากกรุงเทพมหานครแล้ว นับว่าสะดวกและใกล้กว่าทางฝั่งปากช่อง อีกทั้งทางขึ้นยังชันน้อยกว่าเล็กน้อย โดยขับรถมาทางถนนรังสิต-นครนายก เมื่อถึงตัวเมืองนครนายกให้เลี้ยวเข้าถนนสุวรรณศร (หมายเลข 33) ไปทางปราจีนบุรี เดินทางมาจนกระทั่งถึงวงเวียนให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่ ซึ่งนับจากวงเวียนนี้ จะห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 40 กิโลเมตร แต่หากมาจากทางนี้จะใกล้น้ำตกเหวนรกมากกว่า เส้นทางฝั่งนี้ไม่ค่อยมีสัตว์มากเท่ากับฝั่งปากช่อง แต่มีลิงมากพอๆ กัน ซึ่งควรขับรถด้วยความระมัดระวังเช่นกัน




[แก้] สิ่งอำนวยความสะดวก

บ้านพักโซนธนะรัชต์[แก้] ที่พัก
มีบ้านพัก บ้านพักเรือนแถว และค่ายพักแรม ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 4 โซน ได้แก่ โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โซนบนเขา-จุดชมวิว โซนค่ายสุรัสวดี และโซนบ้านธนะรัชต์ แต่ละโซนอยู่ห่างกันพอสมควร ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่จองที่พัก-บริการไว้แล้ว ควรติดต่อที่เจ้าหน้าที่งานบ้านพักและบริการของอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยวก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้มอบกุญแจที่พัก แนะนำเส้นทางเข้าที่พัก และคำแนะนำอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ก่อนเข้าพัก

[แก้] สถานที่กางเต็นท์
มีลานกางเต็นท์ตามจุดต่างๆ และมีเต็นท์ให้เช่า การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

[แก้] ร้านอาหาร
มีบริการร้านอาหาร เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 - 18.00 น. ในวันจันทร์ - ศกุร์ และเวลา 07.00 - 21.00 น. ในวันเสาร์ - อาทิตย์ มีจำนวน 5 แห่ง คือ

1.บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
2.บริเวณจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้
3.บริเวณจุดกางเต็นท์ลำตะคลอง
4.บริเวณน้ำตกเหวสุวัต
5.บริเวณน้ำตกเหวนรก
[แก้] ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อยู่ใกล้กับที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีขนาดใหญ่พอที่จะรับนักท่องเที่ยวได้ครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 150 คน บริเวณนี้มีห้องประชุมซึ่งสามารถบรรจุคนได้ถึง 100 คน ใช้สำหรับเป็นที่ประชุมบรรยาย ฉายสไลด์และภาพยนตร์

[แก้] ระบบสาธารณูปโภค

28 ก.ย. 2553

ไตคืออะไร

ไตคืออะไร

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการขับของเสีย และควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสียไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง 2 ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสียหรือที่เรียกว่าไตวายก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่ และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย

27 ก.ย. 2553

เขาพระวิหาร

ชื่อ
เมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร"[5] นับเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู ประวัติศาสตร์การเรียกร้องเขาพระวิหาร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชา

นามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึกคือ "ศีรศิขเรศวร" แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร[6] ซึ่งเกิดจากการสมาสกันของคำว่า "ศิขร" (ภูเขา) และ "อิศวร"[7]

ในบางครั้ง ชาวกัมพูชาเรียกปราสาทดังกล่าวว่า "พนมพระวิหาร" (ភ្នំព្រះវិហារ) ซึ่งชาวไทยมักเรียกว่า "เขาพระวิหาร" ในภาษาไทย ราว พ.ศ. 2551 คำว่า "เขา" ได้ถูกละไว้ในชื่อเพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างตัวปราสาทและเนินเขาซึ่งปราสาทสร้างขึ้น

[แก้] ประวัติการก่อสร้าง
ปราสาทพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้นเมื่อนครหลวงของอาณาจักรขอมอยู่ใกล้ คือ ที่นครวัด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางประการในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี ตามหลักจารึกที่ค้บพบ 3 หลักคือ จารึกศิวะศักติ จารึกหมายเลข K380 และ K381 เชื่อว่าเริ่มก่อสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1432-1443) ในฐานะ "ภวาลัย" ที่ทรงมอบแก่เจ้าเมืองที่ครองพื้นที่ในแถบนั้น ซึ่งอยู่ในตระกูล "พระนางกัมพูชาลักษมี" พระมเหสีของพระองค์ และเป็นรูปร่างเมื่อในสมัยพระเจ้ายโศวรมัน ซึ่งสถาปนาศรีศิขเรศวร ในปี พ.ศ. 1436[7] แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (มีพระนามจารึกที่กรอบประตูโคปุระชั้นที่ 2 ว่า "สูรยวรรมเทวะ" และปีที่สร้างแล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ตามจารึกคือ พ.ศ. 1581[8]) และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตามลำดับ ตามจารึกกล่าวไว้ว่าพระองค์ส่ง "ทิวากรบัณฑิต" มาบวงสรวงพระศิวะทุกปี นอกจากนี้ยังมีชุมชนโดยรอบที่กษัตย์อุทิศไว้ให้รับใช้เทวสถาน ชุมชนที่มีชื่อในจารึกอย่างเช่น กุรุเกษตร, พะนุรทะนง เป็นต้น[7]

ในปัจจุบันนี้ปราสาทหลงเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง แต่ทว่ายังมีอาคารปราสาทเหลืออยู่อีกหลายแห่ง[9]

[แก้] ที่ตั้ง

ที่ตั้งของปราสาทพระวิหารเมื่อเทียบกับประเทศไทยและประเทศกัมพูชาปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนผาเป้ยตาดีของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 104 องศาตะวันออก 41 ลิปดา ในอดีตอยู่ในเขตหมู่บ้านภูมิซร็อล (แปลว่า บ้านต้นสน) ตำบลเสาธงชัย (ในอดีคคือ ตำบลบึงมะลู) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย ห่างจากอำเภอเมืองศรีสะเกษ 110 กิโลเมตร คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ในปี พ.ศ. 2505 มีผลทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในบ้านสวายจรุม ตำบลก็อนตวต อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา ปราสาทตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครวัดในเมืองพระนคร 280 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญ 296 กิโลมตร แต่แม้ในปัจจุบัน ศาลโลกก็ยังไม่ชี้ขาดว่าแผ่นดินที่ตั้งเขาพระวิหารเป็นของประเทศใด[9]

[แก้] สถาปัตยกรรม

ทับหลังสลักภาพพระกฤษณะกำลังรบกับอรชุน ที่โคปุระแห่งที่ 3ปราสาทพระวิหารมีลักษณะเป็นแบบศิลปะบันทายศรี ลักษณะบางส่วนคล้ายคลึงกับพระวิหารของปราสาทนครวัด รูปรอยแกะสลักบนปราสาทสันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีพระศิวะเป็นเทพสูงสุดของศาสนา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะที่ทรงประทับบนยอดเขาไกรลาส ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาลปราสาทพระวิหารจึงสร้างบนหน้าผาเป้ยตาดี ทำให้ปราสาทแห่งนี้เปรียบเหมือนการค่อย ๆ ก้าวไปสู่ที่ประทับของพระศิวะ ซึ่งแทนด้วย "ยอดเป้ยตาดี"[7] หากมองจากข้างล่างผาจะเห็นตัวปราสาทเหมือนวิมานสวรรค์ลอยอยู่บนฟากฟ้า[9] โดยมีแผ่นดินเขมรต่ำ (ขแมร์กรอม) ประหนึ่งมหาสมุทรรองรับอยู่เบื้องล่าง[7] ตัวปราสาทประกอบด้วยสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน[1]

ปราสาทพระวิหารมีลักษณะแผนผังที่ใช้แกนเป็นหลัก โดยจัดวางผังหันไปทางทิศเหนือ ซึ่งแตกต่างจากปราสาทอื่น ๆ ซึ่งตามปกติมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเนื่องจากภูมิศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดแล้ว ก็น่าจะเกิดจากปัจจัยอื่นบางประการที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนเขมรสูงในอดีต ตัวปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลางล้อมรอบด้วยระเบียงคดทั้งสี่ด้าน ปราศจากบรรณาลัยขนาบเบื้องหน้า การวางผังที่กำหนดตำแหน่งอาคารมีความสมบูรณ์ลงตัวตั้งแต่แรกเริ่มของการก่อสร้าง โดยไม่มีการแก้ไขต่อเติมบริเวณลานชั้นในภายหลัง วัสดุตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายและหินดาน โดยเทคนิคการก่อสร้างทำโดยนำก้อนศิลาทรายซึ่งตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดไล่เลี่ยกันวางซ้อนกันขึ้นไปตามรูปผังที่กำหนดไว้ โดยอาศัยน้ำหนักของแท่งศิลาทรายแต่ละก้อนกดทับกันเพียงอย่างเดียว มีส่วนยึดจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น[3]

[แก้] ลักษณะสำคัญของปราสาทพระวิหาร

แผนผังของปราสาทพระวิหาร[10]ปราสาทพระวิหารมีความยาว 800 เมตรตามแนวเหนือใต้ และส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาว และบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับน้ำทะเล[8]) แต่โครงสร้างปราสาทแห่งนี้ก็ยังแตกต่างอย่างมากจาก สถาปัตยกรรมปราสาทหินของหินโดยทั่วไปที่พบในพระนคร เพื่อจำลองเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ตามคติความเชื่อของฮินดู

ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู[10]) คั่นอยู่ 5 ชั้น (ปกติจะนับจากชั้นในออกมา ดังนั้นโคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้า จะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้เลย

[แก้] บันไดหน้า

บันไดหน้า ทางขึ้นปราสาทพระวิหาร มองจากโคปุระชั้นที่ 5บันไดด้านหน้าเป็นทางเดินขึ้นลงขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาททางซึ่งอยู่ทางฝั่งไทย ลาดตามไหล่เขา ช่วงแรกเป็นบันไดหิน กว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร จำนวน 162 ขั้น บางชั้นสกัดหินลงไปในพื้นหินของภูเขา สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้[10]) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์นั่ง ช่วงที่ 2 กว้าง 4 เมตร ยาว 27 เมตร มี 54 ขั้น มีฐานกระพักกว้าง 2.5 เมตร 7 คู่ มีรูปสิงห์นั่งตั้งอยู่

หลังจากที่ศาลโลกพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารตกอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา นักศึกษาไทยได้ประท้วงคำตัดสินของศาลโลกและปิดทางขึ้นปราสาทที่อยู่ในเขตแดนไทย ทำให้ชาวกัมพูชาที่ต้องการขึ้นปราสาท จะต้องขึ้นทางช่องเขาแคบ ๆ สูงชันที่เรียกกันว่า "ช่องบันไดหัก"[9]

[แก้] ลานนาคราช
ลานนาคราชหรือสะพานนาค อยู่ทางทิศใต้สุดบันไดหินด้านหน้า ปูด้วยแผ่นหินเรียบ มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 31.80 เมตร ขอบลานสร้างเป็นฐานเตี้ย ๆ บนฐานมี นาคราช 7 เศียร จำนวน 2 ตัว แผ่พังพานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลำตัวอยู่บนฐานทั้งสอง ทอดไปทางทิศใต้ ส่วนหางของนาคราชชูขึ้นเล็กน้อย นาคราชทั้งสองตัวมีลักษณะคล้ายงูตามธรรมชาติ เป็นลักษณะของนาคราชในศิลปะขอม แบบปาปวน

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 5
โคปุระชั้นที่ 5 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานบัวสี่เหลี่ยมย่อมุม ฐานสูง 1.8 เมตร บันไดหน้าประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศตั้งรูปสิงห์นั่ง เสาโคปุระสูง 3.5 เมตร เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ ยังมีร่องรอยสีแดงที่เคยประดับตกแต่งตัวปราสาทเอาไว้ แต่ส่วนหลังคากระเบื้องนั้นหายไปหมดแล้ว บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 5 อยู่ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อนข้างชัน ทางทิศตะวันออกของโคปุระชั้นที่ 5 มีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอน ยาว 340 เมตรถึงไหล่เขา เป็นเส้นทางขึ้น-ลง ไปสู่ประเทศกัมพูชา เรียกว่าช่องบันไดหัก

[แก้] สระสรง
สระสรงอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 ไปโคปุระ ชั้นที่ 4 ห่างออกไป 12.40 เมตร จะพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 16.80 เมตร ยาว 37.80 เมตร กรุด้วยท่อนหินเป็นชั้น ๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันไดปากผายก้นสอบ

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 4

ภาพของการกวนเกษียณสมุทร ณ เขาพระวิหารทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 มาเป็นลานหินกว้างประมาณ 7 เมตร สองข้างจะมีเสานางเรียง ตั้งอยู่ ทั้งสองด้าน แต่ก็มีปรักหักพังไปมาก โคปุระชั้นที่ 4 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียว ยาว 39 เมตรจากตะวันออกไปตะวันตก กว้าง 29.5 เมตรจากเหนือไปใต้ เป็นศิลปะสมัยหลังโคปุระ ชั้นที่ 5 คือ แคลง/บาปวน มุขหน้าแบ่งเป็น 2 คูหา ริมซุ้มประตูด้านนอกตั้งรูปสิงห์ มุขตะวันออกและตะวันตกแบ่งเป็น 3 คูหาริมซุ้มประตูด้านนอกตั้งรูปสิงห์ ห้องใหญ่แบ่งเป็น 5 คูหา มุขใต้แบ่งเป็น 2 คูหาหน้าบันเป็นภาพของการกวนเกษียณสมุทร ถือเป็น "หนึ่งในผลงานชิ้นเอกอุของปราสาทพระวิหาร"[11] ทับหลังเป็นภาพของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนืออนันตนาคราช

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 3

ภาพวาดโคปุระที่ 3 โดยปามังติเอร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสโคปุระชั้นที่ 3 นั้นมีขนาดใหญ่สุด สมบูรณ์ที่สุด และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธานนั้นสามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า บันไดกว้าง 3.6 เมตร สูง 6 เมตร สองข้างมีฐานตั้งรูปสิงห์นั่ง 5 กระพัก

มนเทียรกลาง มุขเหนือหน้าบันเป็นรูปพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ทับหลังเป็นรูปพระนารายณ์ 4 กรทรงครุฑ มุขตะวันออกและตะวันตกที่ผนังด้านเหนือมีซุ้มประตู 1 ซุ้มหน้าประตูมีรูปสิงห์นั่งตั้งอยู่ ห้องใหญ่มีหน้าต่างซีกเหนือ 6 ช่องซีกใต้ 2 ช่องมุขใต้หน้าบันเป็นรูปพระอิศวรบนหลังโคอุศุภราช
ห้องขนาบ ทั้งซ้ายและขวาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นลานแบ่งเป็น 4 ห้อง ห้องตามขวางด้านหน้ายาว 35.5 เมตร กว้าง 7 เมตรผนังด้านลานมีหน้าต่าง 5 ช่อง ห้องตามยาวซ้ายและขวายาว 15 เมตร กว้าง 6 เมตร ห้องตามขวางด้านหลังยาว 40 เมตร กว้าง 8.5 เมตร ยกฐานสูง 2.4 เมตร ผนังด้านใต้มีหน้าต่าง 5 ช่อง มุขหน้ามีหน้าต่างข้างละ 3 ช่อง เข้าใจว่าบรรณาลัยนี้สร้างเพิ่มเติมภายหลังมนเทียรกลาง ที่ลานหน้าด้านตะวันออกมีปรางค์ศิลา 1 องค์ กว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร
จากโคปุระชั้นที่ 3 มีบันได 7 ขั้นขึ้นไปสู่ถนนที่ยาว 34 เมตร มีเสานางเรียงปักรายข้างถนน ข้างละ 9 ต้น ถัดจากเสานางเรียงไปเป็นสะพานนาค 7 เศียร

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 2

ภาพเขียนแสดงให้เห็นส่วนโคปุระ ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 1เมื่อยังสมบูรณ์
วารสารสยามสมาคม ค.ศ. 1956มนเทียรหน้า เป็นรูปกากบาท กว้าง 23 เมตร ยาว 23 เมตร มีมุขทั้ง 4 ทิศ ที่มุขเหนือและใต้มีช่องหน้าต่างมุขละ 2 ช่อง มุขตะวันออกและตกมีประตูหน้าหลังมุขละ 2 ประตู กับช่องหน้าต่างมุขละ 1 ช่อง ห้องใหญ่มีหน้าต่างที่ผนังด้านเหนือ 6 ช่อง ด้านใต้ 4 ช่อง ซุ้มประตูส่วนมากจะเป็นซากปรักหักพัง กรอบประตูห้องใหญ่มีจารึกอักษรขอมระบุบปีศักราชตกอยู่ในสมัยพระเจ้าสุรยวรมันที่ 1 ด้านหน้ามนเทียรมีบันไดตรงกับประตูซุ้มทั้ง 3 ประตูและมีชานต่อไปยังเฉลียงซ้ายและขวา
เฉลียงซ้ายและขวา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เมตร ยาว 32 เมตร ผนังด้านนอกทึบ ด้านในเปิดมีเสาราย 10 ต้น ที่สนามด้านหน้ามีภาพจำหลักตกหล่นอยู่หลายชิ้น เช่น รูปกษัตริย์กำลังหลั่งน้ำทักษิโณฑกแก่พราหมณ์
มนเทียรกลาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 13 เมตร มีมุขหน้าขนาด 8 x 5 เมตรมีหน้าต่างข้างละช่อง ตัวมนเทียรมีหน้าต่างข้างละ 3 ช่องกลางห้องมีเสาราย 2 แถว ๆ ละ 4 ต้น
บรรณาลัย (ห้องสมุด) ซ้ายและขวา อยู่ขนาบ 2 ข้างของมนเทียรกลาง กว้าง 6.5 เมตร ยาว 11 เมตร
[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 1
ระเบียงคด ด้านทิศเหนือยาว 22 เมตรกว้าง 5.5 เมตร มีผนังละ 3 ประตูที่ผนังด้านเหนือและใต้ด้านทิศตะวันออกและตก กว้าง 4 เมตร ยาว 52 เมตรผนังด้านนอกทำทึบ ผนังด้านในมีหน้าต่าง ข้างละ 20 ช่อง ด้านทิศใต้ ผนังด้านในมีหน้าต่าง 6 ช่อง ตรงกลางมีประตู
ปรางค์ประธาน มีวิหารเชื่อมต่ออยู่ทางทิศเหนือ มีฐานย่อมุม 3 ชั้น ชั้นแรกอยู่เสมอพื้นราบ ชั้นที่ 2 สูง 75 เซนติเมตร ทุกที่ ๆ ตรงกับประตูมีบันได 5 ขั้น กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร ตัวปรางค์ทรุดพังมาครึ่งองค์ เหลือเพียงราว 9 เมตร กว้าง 7 เมตร วิหารที่เชื่อมต่อ ฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 17 เมตร สูง 1.5 เมตร มีประตูทั้ง 4 ทิศ บันไดตรงประตูทิศเหนือมี 3 ขั้น กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 1.5 เมตร ประตูทิศใต้เชื่อมกับปรางค์ มีหน้าต่างด้านตะวันออกและตก ด้านละ 1 ช่อง กลางวิหารมีแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม 1 แท่น
มนเทียรตะวันออก กว้าง 16 เมตร ยาว 20.5 เมตรมีมุขด้านเหนือ, ใต้, ตะวันออกแต่ละมุขมีประตู 3 ประตู ภายในแบ่งเป็นห้อง ๆ
มนเทียรตะวันตก กว้าง 18.5 เมตร ยาว 20.5 เมตรมีมุขด้านเหนือ, ใต้, ตะวันตกแต่ละมุขมีประตู 3 ประตู
[แก้] เป้ยตาดี
เป้ยตาดี มีเนื้อที่กว้าง 44 เมตร ยาว 50 เมตร "เป้ย" เป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า ชะง่อนผา หรือโพงผา ตามคำบอกเล่า ว่านานมาแล้วมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อ "ดี" จาริกมาปลูกเพิงพำนักอยู่ที่นี่จนมรณภาพไป ชาวบ้านจึงเรียกลานหินนี้ว่า "เป้ยตาดี" ตรงยอดเป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร ถ้าวัดจากพื้นที่เชิงเขาพื้นราบฝั่งประเทศกัมพูชาสูงประมาณ 447 เมตร ตรงชะง่อนผาเป้ยตาดี จะมีรอยสักฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ว่า "๑๑๘-สรรพสิทธิ" แต่ก่อนมีธงไตรรงค์ของไทยอยู่ที่ บริเวณผาเป้ยตาดี ในปัจจุบันคงเหลือแต่ฐาน ส่วนรอยแกะสลักพระนามของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์นั้นปัจจุบันถูกกระเทาะทำลายไปแล้ว

[แก้] โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาท
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาท ประกอบด้วยดังนี้[7]

ภาพสลักบนหน้าผามออีแดง : เป็นภาพสลักนูนต่ำรูปเทพชายและหญิงในท่าเรียงกัน 3 องค์ และยังมีส่วนที่สลักไม่เสร็จ
สถูปคู่ : เป็นสถูปคู่ 2 องค์ สร้างด้วยหินทราย เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สูง 4.2 เมตร ยอดมน ข้างในมีโพรงบรรจุสิ่งของ
สระตราว : สระน้ำขนาดใหญ่ คาดว่ามีสถานะเทียบเท่าบาราย (แหล่งเก็บน้ำในอารยธรรมขอม มักสร้างใกล้ปราสาทหิน) บริเวณใกล้เคียงพบร่องรอยการตัดหินเพื่อนำไปสร้างปราสาท
[แก้] กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร
[แก้] คดีความ พ.ศ. 2505
ดูบทความหลักที่ คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505

แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่เป็นแผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำ อันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและรอบ ๆ ว่าเป็นของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยื่นต่อศาลระหว่างเทศยืนยันที่จะยึดแนวสันเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน) ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ"[12] ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว[13]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิดสงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด 22 วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืนจังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว[14] ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน 4 จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง

ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501[8] และในปีต่อมา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม 9 คน[8]

กระทั่งวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3[15] และในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำภายในสิบปี

หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2535 แต่ปีต่อมาก็ถูกเขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541

[แก้] การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา
ดูบทความหลักที่ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2551
เมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548 กัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ปี พ.ศ. 2549 วันที่ 30 มกราคม ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่ปารีสขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาท และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับฝ่ายไทย[7] พ.ศ. 2550 กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้ง ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาและเสนอขึ้นทะเบียนร่วม (transboundary property) แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลมีมติเลื่อนการขึ้นทะเบียนออกไป โดยให้ไทย-กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะเพียงตัวปราสาทเท่านั้น โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อ (i) เพียงข้อเดียว[16]

ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นำประเด็นนี้มาโจมตีเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[17][18][19] เหตุการณ์นี้พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาในที่สุด

[แก้] การเยี่ยมชม
ในอดีตการเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารจะใช้ทางขึ้นจากฝั่งไทย โดยทางการไทยและทางการกัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวร่วมกัน แต่ปัจจุบันมีความตึงเครียดระหว่างแนวชายแดนประชาชนทั่วไปจึงไม่สามารถขึ้นไปชมประสาทจากทางประเทศไทยได้อีก กัมพูชาได้สร้างถนนซีเมนต์ยาว 3 กิโลเมตรไต่เขาขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารสำเร็จแล้ว และเป็นทางที่ประชาชนทั่วไปใช้ขึ้นไปชมปราสาทได้ในปัจจุบัน[20]

www.wikipedia.com

26 ก.ย. 2553

ประวัติฮิตเลอร์

วัยเด็ก
ฮิตเลอร์ มีพ่อเป็นข้าราชการและได้พยายามปลูกฝังความคิดนี้ให้ ฮิตเลอร์ ซึ่งเขาเองไม่สนิทกับบิดานัก เนื่องจากบิดาเข้มงวดในระเบียบ ลงโทษรุนแรง แต่ฮิตเลอร์ไม่มีความคิดที่จะเป็นข้าราชการเลย โดยเกลียดการที่จะไปนั่งเฉย ๆ ในที่ทำการตลอดวันโดยไม่ได้เป็นเจ้าของความคิดของตนเอง แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเดิม ๆ ฮิตเลอร์ในวัยเด็ก เรียนเก่งมาก และเคร่งศาสนา จนเพื่อนๆ ไว้ใจให้เป็นหัวหน้า แต่ฮิตเลอร์เองไม่อยากเป็นข้าราชการ เพราะฮิตเลอร์ชอบศิลปะ เขาอยากจะเป็นจิตรกรมากกว่าข้าราชการ สิ่งนี้ทำให้ฮิตเลอร์เปลี่ยนไปสนใจในศาสตร์ต่อสู้และศิลปะ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลงเรื่อยๆ จนผลการเรียนเริ่มแย่ลง เพื่อนๆ เลิกไว้ใจ ปลดฮิตเลอร์จากการเป็นหัวหน้า และบิดาก็ดุด่าฮิตเลอร์ เกรงว่าอนาคตฮิตเลอร์จะไม่สามารถเข้ารับราชการได้ ดังนั้นฮิตเลอร์จึงเลือกที่จะทำสองประการคือ หนึ่งจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในคณะชาตินิยม และสองจะศึกษาวิชาประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจความรู้สึกทั่วไป เนื่องจาก ฮิตเลอร์ เห็นว่าเยอรมันได้ถูกชนชาติอื่นกลืนกินเรื่อยมา แม้แต่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (ฮิตเลอร์อาศัยอยู่ในวัยหนุ่ม) กษัตริย์ของออสเตรียก็พยายามแก้ปัญหานี้ แต่โดยวิธีการที่หันไปพึ่งเชคโกสโลวาเกีย โดยไม่สนใจแนวคิดรวมกับเยอรมัน อันเป็นเหตุให้ อาชดยุค ฟรานซิส เฟอร์ดินันด์ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย ถูกลอบสังหาร โดยชาวเซอบส์ อันเป็นจุดแตกหักที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

ค.ศ. 1903 เนื่องจากปีนั้นฮิตเลอร์ผลการเรียนย่ำแย่ถึงขั้นซ้ำชั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาผลการเรียนดีมาตลอด จนเป็นเหตุให้ทำให้ถูกบิดาของเขาได้ไล่ออกจากบ้าน แต่ 3 วันให้หลังฮิตเลอร์ก็กลับมาที่บ้าน ต่อมาอาลัวส์ ฮิตเลอร์ (Alois Hitler) บิดาของอดอล์ฟ และครอบครัวย้ายไปอยู่ที่เมืองลินซ์ (Linz) ภายหลังอาลัวส์เสียชีวิตลงในวัย 65 ปี

ค.ศ. 1907 คลารา ฮิตเลอร์ (Klara Hitler) มารดาของอดอล์ฟ เสียชีวิตลงด้วยวัย 47 ปี ด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งนั่น ทำให้ฮิตเลอร์หนีห่างออกจากอลัวส์ บิดาของเขา ไปอยู่กับป้าของเขาในเวียนนา

[แก้] วัยผู้ใหญ่
ในระยะเวลาที่ฮิตเลอร์เป็นจิตรกรคนยาก เขาทำผลงานขายให้กับคนยิวคนหนึ่ง ทำให้เขามีขนมปังกินไปวันๆ ซึ่งฮิตเลอร์ชื่นชอบในงานศิลปะมาก เขาได้สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสอนศิลปะแห่งหนึ่งในกรุงเวียนนา แต่ทว่าเขากลับถูกปฏิเสธเพราะไม่มีใบรับรองการศึกษาจากชั้นมัธยม และไม่นานฮิตเลอร์ได้พบกับความสุขที่เรียกว่าความรัก เธอเป็นหญิงที่สวยงามและมีฐานะดีพอสมควร เป็นส่วนที่ทำให้ฝ่ายชายเกรงและอายที่จะขอหล่อนแต่งงาน ขณะเดียวกันฝ่ายหญิงก็ไปคบกับหนุ่มชาวยิวและทั้งคู่ก็แต่งงานกัน ขณะที่ฮิตเลอร์เองก็ตกงานและในใจเขามีความแค้นอย่างมากในเวลานั้น เมื่อกรุงเวียนนาแห่งออสเตรีย ประกาศรับสมัครทหารเข้าประจำการ ฮิตเลอร์หลีกเลี่ยงการเกณฑ์เนื่องจากเกลียดประเทศของตนเองอยู่ลึกๆ แต่กลับมาเข้ารับการเกณฑ์ในเยอรมัน ชาติคู่รักคู่คิดแทนนอกจากนี้ยังชื่นชมอาณาจักรเยอรมนีที่เหนือกว่าออสเตรียมาตั้งแต่เด็ก จึงไปเป็นอาสาสมัครในกองทัพเยอรมนี ที่ขึ้นชื่อว่าดุดันและน่าเกรงขามของกษัตริย์ ไกเซอร์แต่ก็เป็นที่นี่ที่เขาได้พบกับลัทธิชาตินิยม และลัทธิการแบ่งแยกเชื้อชาติ อันนำมาซึ่งชนวนแห่งสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มวลมนุษยชาติเคยรู้จัก

ค.ศ. 1909 ฮิตเลอร์ เข้าเป็นอาสาสมัครในกองทัพเยอรมัน และได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1

ค.ศ. 1914 ฮิตเลอร์ เข้าเป็นแนวหน้าของทัพบกเยอรมัน เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในตอนนั้นฮิตเลอร์ยังเป็นแค่พลทหารเขาอยู่ในหน่วยรบแนวหน้า เขาจะตายหลายครั้งแต่ก็รอดมาได้ ในไม่นานด้วยความกล้าของเขาทำให้เขาได้ติดยศสิบตรี (จากนี้จะเห็นได้ว่าจากคนที่เดิมทีไม่มีอะไรโดดเด่นเลย ได้สร้างตัวเองด้วยความกล้า จนเป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่) ในกองทัพนี่เอง ที่ทำให้ชีวิตที่เพ้อฝัน และขาดการเอาจริงเอาจังของเขาเปลี่ยนไป เขากลายเป็นคนที่มีระเบียบวินัย สนุกสนาน ร่าเริง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ พร้อมที่จะรับภารกิจที่เต็มไปด้วยอันตราย จนได้รับเหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กชั้นที่ 2 (the Iron Cross Second Class) ซึ่งภายหลังถูกยกระดับให้เป็นเหรียญชั้นที่ 1 โดยเขาได้รับการเสนอชื่อให้เข้ารับเหรียญกล้าหาญนี้ โดยฝ่ายเสนาธิการประจำกรมของเขา ซึ่งเป็นคนยิว ชนชาติที่จะถูกเขาทำลายล้างในห้วงเวลาต่อมา ฮิตเลอร์ มีความภาคภูมิใจในเหรียญกล้าหาญนี้มาก เขาจะประดับเหรียญตรานี้เพียงเหรียญเดียวอยู่เสมอ

ค.ศ. 1916 เศรษฐกิจเยอรมันตกต่ำจากภาวะสงคราม บ้านเมืองจลาจลวุ่นวาย ข้าวยากหมากแพง ซึ่งทำให้ความกดดันนั้น ทำให้ฮิตเลอร์เกิดอุดมการณ์รักชาติขึ้นมา และเริ่มปลุกระดมชาวบ้านให้สู้ และอุดมการณ์อันแรงกล้าของฮิตเลอร์ ทำให้ฮิตเลอร์เริ่มเป็นที่รู้จักในวงแคบ และเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตการเมืองของฮิตเลอร์

ค.ศ. 1919 ฮิตเลอร์เข้าร่วมกับพรรคนาซี และในปีเดียวกันนี้ เยอรมันได้ทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเยอรมันเสียเปรียบอย่างชัดเจน ทำให้อุดมการณ์ของฮิตเลอร์โดดเด่นขึ้นมา ฮิตเลอร์จึงเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และพรรคนาซี ก็เริ่มมีคนเยอรมันสมัครเข้ามาร่วมเป็นจำนวนมาก

ค.ศ. 1921 ฮิตเลอร์ได้เป็นหัวหน้าพรรคนาซี โดยพรรคนาซีในยุคฮิตเลอร์มีนโยบายต่อต้านชาวยิว และลัทธิสังคมนิยม

ค.ศ. 1923 ฮิตเลอร์พยายามก่อการปฏิวัติ แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกตัดสินจำคุก ในระหว่างจำคุกนี้ เขาได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" (Mein Kampf) ความพ่ายแพ้ของเขาในครั้งนี้ กลับทำให้เขาได้รับความนิยมมากขึ้น

ค.ศ. 1924 ฮิตเลอร์ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนด และเริ่มดำเนินกิจกรรมการเมืองต่อ

ค.ศ. 1927 ฮิตเลอร์ถูกสั่งห้ามปราศรัยในที่สาธารณะ สมาชิกพรรคนาซี มีอยู่ประมาณ 72,000 คน

ค.ศ. 1928 แฮร์มาน เกอริง ซึ่งต่อมาเป็นผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมัน หรือ ลุฟวาฟ และ โจเซฟ เกบเบิล ซึ่งต่อมารับผิดชอบงานด้านการประชาสัมพันธ์ของพรรคนาซี ได้รับเลือกเข้าสู่สภาไรซ์สตาค

ค.ศ. 1929 Heinrich Himmler ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้นำระดับสูงสุดคนหนึ่งของพรรคนาซี ได้ทิ้งฟาร์มเลี้ยงไก่ของเขา เข้าร่วมกับฮิตเลอร์ และได้เป็นหัวหน้าหน่วย Waffen SS (Armed SS) ซึ่งเป็นหน่วยอารักขาของฮิตเลอร์ (Hitler bodyguarde) โดยในขณะนั้นมีจำนวนเพียง 200 คน แต่ก็เป็นสองร้อยคนที่คัดสรรมาเป็นอย่างอย่างดี เพื่อคานอำนาจกับหน่วย SA สมาชิกพรรคนาซี ที่มีอยู่ประมาณ 72,000 คนจากเดิม ได้เพิ่มเป็น 178,000 คน

ค.ศ. 1930 ฮิตเลอร์ได้รับทุนจาก Emil Kirdorf ผู้นำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของเยอรมัน เงินการเมือง และพิมพ์ใบปลิวปลุกจิตสำนึกของคนเยอรมันอย่างมากมาย ส่งผลให้พรรคนาซีมีสมาชิกเพิ่มเป็นกว่าครึ่งล้านคน ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรจะหยุดยั้งฮิตเลอร์ได้อีกต่อไปแล้ว มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคนาซีประสบความสำเร็จอย่างมาก จากนโยบายที่ฮิตเลอร์ใช้หาเสียง ความสำเร็จนี้สร้างความแปลกใจให้กับทุกคน แม้กระทั่งตัวฮิตเลอร์เอง โดยพรรคนาซีได้รับเสียงถึง 6,500,000 เสียง ได้ที่นั่งถึง 107 ที่นั่งในสภา เป็นพรรคใหญ่อันดับสอง จากเดิมที่เคยมีเพียง 12 ที่นั่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 1928 ไม่เพียงแต่พรรคนาซีเท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จ พรรคคอมมิวนิสต์ก็เช่นเดียวกัน ที่ได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 23 ที่นั่งเป็น 77 ที่นั่ง แสดงให้เห็นว่าประชาชนเยอรมันเริ่มแตกออกเป็นสองฝ่าย เพื่อหาทางสู้กับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ผู้นำพรรคนาซีทั้งหกคน ประกอบด้วย ฮิตเลอร์ สตราสเวอร์ โรห์ม เกอริงเกิบเบิล และ ฟริค ต่างช่วยกันบริหารงานพรรค และขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง

ค.ศ. 1932 ในการเลือกตั้งในเยอรมนี พรรคนาซีได้รับเลือก 230 ที่นั่ง จาก 608 ที่นั่งในสภาขณะนั้น ทำให้อำนาจฮิตเลอร์มีสูงขึ้น จากการบริหารที่ผิดพลาดของ เกอริง ที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภา ได้นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้ที่นั่งของพรรคนาซีลดลงเหลือ 196 ที่นั่งจากทั้งหมด 584 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์กลับได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นเป็น 100 ที่นั่ง

ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์ยกเลิกสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญ และได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

ค.ศ. 1934 สุขภาพของประธานาธิบดีฮินเดนเบอร์ก ประธานาธิบดีเยอรมันในขณะนั้นไม่สู้ดีนัก เขาเสียชีวิตในวันที่ 2 สิงหาคม ปีเดียวกันนั้น และสามชั่วโมงหลังจากนั้นฮิตเลอร์ควบตำแหน่งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือที่เรียกกับว่า ผู้นำ หรือ ฟือเรอร์ (Fuhrer) ทำให้เยอรมันก้าวเข้าสู่ความเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ

ค.ศ. 1935 เยอรมันก่อตั้งกองทัพอากาศขึ้นอย่างเป็นทางการ อันที่จริงๆแล้วเยอรมันมีการฝึกนักบินมาล่วงหน้านี้อย่างลับๆ มากว่าสองปีแล้ว ในนามนักบินพลเรือน ขณะเดียวกันชาวเยอรมันที่อยู่ในออสเตรีย โปแลนด์ และเชคโกสโลวาเกีย ต่างก็พากันสนับสนุนรัฐบาลให้เข้าร่วมกับเยอรมัน

ค.ศ. 1936 ฮิตเลอร์เซ็นสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมัน กับรัสเซีย เพื่อสร้างความมั่นใจว่า สงครามทางด้านรัสเซียจะไม่เกิดขึ้น ในขณะที่เยอรมันยังไม่พร้อม แต่ขณะนั้นกองทัพเยอรมันได้เพิ่มจำนวนถึงกว่าหนึ่งล้านคน ฮิตเลอร์เริ่มมั่นใจมากขึ้นว่า ไม่ว่าอังกฤษ หรือฝรั่งเศส หรือใครก็ตาม ไม่สามารถหยุดยั้งอาณาจักรไรซ์ที่สามได้อีกแล้ว จึงสั่งเคลื่อนกำลังเข้ายึดครอง Rhineland โดยอังกฤษและฝรั่งเศสไม่มีการต่อต้าน และเป็นการพิสูจน์ว่า สนธิสัญญาแวร์ซายที่จำกัดสิทธิทุกอย่างของเยอรมัน ได้ถูกฉีกทิ้งอย่างสิ้นเชิงโดยเยอรมัน และสันนิบาตชาติ (League of Nations) หมดสิ้นอำนาจลงอย่างสิ้นเชิง

ค.ศ. 1937 ก่อนหน้านี้ฮิตเลอร์วางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของเยอรมัน โดยมอบให้ Dr. Schacht อดีตผู้ว่าการธนาคารไรซ์ (Reichbank) เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งแผนการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก และส่งผลให้เยอรมันสามารถลดจำนวนคนว่างงานลงได้จำนวนมาก สร้างผลผลิตทางอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมหาศาล ยกระดับคูณภาพชีวิตของชาวเยอรมันให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชาวเยอรมันล้วนต่างภาคภูมิใจในความเป็นชนชาติเยอรมัน เพราะไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นง่ายๆ ในพื้นที่ใดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดขึ้นในประเทศที่พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกควบคุมในทุกรูปแบบจากสนธิสัญญาแวร์ซาย อย่างเช่นประเทศเยอรมัน มันก็เป็นสิ่งที่ชาวเยอรมันควรจะภาคภูมิใจ และยกย่องฮิตเลอร์อย่างสุดขั้ว ในฐานะผู้สร้างชีวิตใหม่ ผู้สร้างอนาคตและความหวังของชาติ และ ฮิตเลอร์ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อรัฐสภาไรซ์สตาร์ค (Reichstag) ว่า เป้าหมายของเขาไม่ได้อยู่ที่สงคราม หากแต่อยู่ที่การสร้างชาติเยอรมัน การยกระดับความอยู่ดีกินดีของชาวเยอรมัน การสร้างความมั่นใจให้กับชาวเยอรมันในชีวิตและความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างความเป็นมหาอำนาจทางทหารทั้งทางบก เรือและอากาศของเยอรมัน และพยายามสร้างความสัมพันธ์กับอิตาลี จนที่สุดมุสโสลินีตกลงที่จะเดินทางมาเยือนเยอรมันเป็นครั้งแรก

ค.ศ. 1938 นายกรัฐมนตรีของออสเตรียได้รับเชิญให้ไปเยือนเยอรมัน ฮิตเลอร์เรียกร้องให้มีการรวมประเทศ(anexation) Schuschnigg นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย ไม่กล้าให้คำตอบ ฮิตเลอร์สั่งการให้กองทัพอากาศเตรียมการโจมตี กองทัพเยอรมันก็ยาตราเข้าสู่ออสเตรีย ประกาศผนวกดินแดนภายใต้ชื่อ Anschluss แท้ที่จริงแล้ว ผลการออกเสียง ชาวออสเตรียลงคะแนน 99 เปอร์เซนต์ให้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน นับการรวมดินแดนที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้ออีกครั้งหนึ่งของฮิตเลอร์ อังกฤษและฝรั่งเศสก็ตกลงกันในข้อตกลงมิวนิค (the Munich Agreement) ที่จะมอบทุกสิ่งที่ฮิตเลอร์ต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม โดยจะยินยอมมอบดินแดน 10,000 ตารางไมล์ให้ ส่งผลให้เชคโกสโลวะเกียสูญเสียแหล่งถ่านหิน 66 เปอร์เซนต์ของตน พร้อมทั้งอีก 70 เปอร์เซนต์ของแหล่งพลังงานไฟฟ้า 86 เปอร์เซนต์ของแหล่งเคมี 70 เปอร์เซนต์ของแหล่งแร่เหล็ก พร้อมด้วยถ้อยวาจาอมตะที่ว่า "สันติภาพในเวลาของเรา" (Peace in our time)

ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ให้ความสำคัญกับนโยบายต่างประเทศเป็นอย่างมาก เขาแสดงถึงความเป็นอัจฉริยะบนหมากกระดาน แห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาสามารถทำให้มหาอำนาจของโลก ต้องรอฟังคำปราศรัยแต่ละครั้งของเขา อย่างใจจดใจจ่อ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ของสหรัฐอเมริกา ได้แสดงสุนทรพจน์ถึงฮิตเลอร์ เรียกร้องให้ฮิตเลอร์รับประกันว่า เยอรมันไม่มีความต้องการดินแดนในยุโรปมากกว่าที่เป็นอยู่ ฮิตเลอร์ตอบรูสเวลท์ ด้วยสุนทรพจน์ในรัฐสภาไรซ์สตาคของเยอรมัน กล่าวกันว่า สุนทรพจน์นี้ เป็นหนึ่งในยอดสุนทรพจน์ของฮิตเลอร์เท่าที่เคยแสดงมา เขาเปรียบเทียบพื้นที่การอยู่อาศัย ในสหรัฐอเมริกาว่า แม้อเมริกาจะมีประชากรมากกว่าเยอรมัน เพียงหนึ่งในสาม แต่ก็มีพื้นที่อยู่อาศัยมากกว่า เยอรมันถึงสิบห้าเท่า พื้นที่ที่กว้างใหญ่นี้ มิใช่ได้มาด้วยการเจรจาบนโต๊ะเจรจา หากแต่ได้มาด้วยการยึดครองและสงคราม ฮิตเลอร์กล่าวอีกว่า ข่าวลือที่ว่าเยอรมันจะบุกสหรัฐนั้น ไม่เป็นความจริง และเป็นข่าวที่ผิดพลาด

ฮิตเลอร์สามารถครอบครองดินแดนต่างๆ โดยแทบจะไม่ต้องสูญเสียอะไรเลย สิ่งที่เขามองเป็นก้าวต่อไป ก็คือ โปแลนด์ โดยมองไปที่ดานซิก (Danzig) ซึ่งตามสนธิสํญญาแวร์ซาย กำหนดให้ดานซิก ซึ่งเคยเป็นของเยอรมันมาก่อน กลายเป็นเมืองเปิด เยอรมันและโปแลนด์มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้า ออก ฮิตเลอร์เรียกร้องให้โปแลนด์คืนดานซิกให้กับเยอรมัน คำตอบจากโปแลนด์คือ คำตอบปฏิเสธ พร้อมทั้งมีสํญญาณให้เยอรมันเห็นว่า โปแลนด์พร้อมจะสู้

รัสเซียยื่นข้อเสนอไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อขอทำสนธิสัญญาสามฝ่าย คือ รัสเซีย อังกฤษ และฝรั่งเศส ในการร่วมมือทางทหาร หากโปแลนด์ถูกโจมตีจากเยอรมัน แต่อังกฤษปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวของรัสเซีย การปฏิเสธดังกล่าว เท่ากับเป็นการยืนยันสมมติฐานของฮิตเลอร์ที่ว่า อังกฤษจะพยายามทุกวิถีทาง ที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามเมื่ออังกฤษปฏิเสธข้อเสนอของตน รัสเซียซึ่งนำโดยโมโลตอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ ก็ยื่นข้อเสนอมายังเยอรมัน เพื่อขอทำสนธิสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกัน

21 พฤษภาคม มุสโสลินีถึงยินยอมให้เคาน์ ซิอาโน (Count Ciano) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิตาลี ลงนามในสนธิสัญญาเหล็ก ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมัน ซึ่งอิตาลีในการต่อมาสร้างภาระให้แก่ ฮิตเลอร์ เป็นอันมาก เนื่องมาจากอาวุธที่ล้าสมัยและความด้อยประสิทธิภาพของกำลังพลอิตาลี

22 สิงหาคม ฮิตเลอร์ก็ส่งริบเบนทรอปไปมอสโคว์ เมืองหลวงของรัสเซีย เพื่อร่วมลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกัน ระหว่างเยอรมันกับรัสเซีย ในวันที่ 23 สิงหาคม ท่ามกลางความงุนงงของโลก เพราะต่างรู้ดีว่า นาซีเยอรมันนั้นเป็นศัตรูกับคอมมิวนิสต์อย่างสิ้นเชิง เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ถึงกับกล่าวว่า สนธิสัญญานี้ไม่ใช่สนธิสัญญาธรรมดาแน่นอน เขาต้องการความมั่นคงทางชายแดนด้านรัสเซีย อย่างน้อยตอนนี้ก็ยังไม่ถึงเวลาที่เยอรมันจะรบกับรัสเซีย

[แก้] ความเครียดของฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์มีความเครียดเป็นอย่างมาก คนใกล้ชิดถึงกับกล่าวว่า เขาดูแก่ลง เก็บตัวเงียบ นั่งครุ่นคิดอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ จากอาการดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า เขาไม่ต้องการสงคราม ไม่ต้องการให้เกิดการล้มตาย แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็ต้องการครอบครองโปแลนด์ หรืออาจจะครอบครองทั้งยุโรป โดยที่ไม่มีสงคราม ซึ่งในความเป็นจริงนั้น มันเป็นไปไม่ได้ สาเหตุที่สร้างความเครียดให้กับฮิตเลอร์ในช่วงนี้ คือ แรงกดดันจากอังกฤษที่มีต่อเยอรมัน เกี่ยวกับปัญหาในโปแลนด์ เพื่อป้องกันการขยายตัวของสงคราม ซึ่งฮิตเลอร์กำลังพยายามหาเงื่อนไข ที่จะขจัดความร่วมมือทางทหารระหว่างอังกฤษและโปแลนด์ แต่ท้ายที่สุด ในกรณีที่หาทางออกอื่นใดไม่ได้ ฮิตเลอร์ต้องการพิชิตโปแลนด์ให้ได้เร็วที่สุด โดยใช้ สงครามสายฟ้าแลบ (Lightning war - Blitzkrieg) เพื่อให้การรบยุติลงก่อนที่อังกฤษและฝรั่งเศสจะส่งกำลังเข้ามาช่วย หรือเปิดแนวรบตามชายแดนเยอรมัน ฝรั่งเศส

[แก้] ความผิดพลาดของฮิตเลอร์
สงครามโลกอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย หากเขาไม่เชื่อมั่นในความคิดของตนเองจนเกินไป มองว่า แชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษนั้น อ่อนแอเกินกว่าที่จะนำประเทศเข้าสู่สงคราม หากโปแลนด์ถูกโจมตี อันเป็นการยืนยันถึงความคิดของฮิตเลอร์ที่มันเป็นความผิดพลาดของฮิตเลอร์ครั้งใหญ่ และผู้ที่จะได้รับผลกรรมจากการตัดสินใจผิดพลาดครั้งนี้คือ มวลมนุษยชาติทั้งโลก ที่จะต้องเผชิญกับมหาสงครามโลกครั้งที่สอง มหาสงครามแห่งการทำลายล้างครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยประสบมา เมื่อใกล้ถึงเส้นตาย ฮิตเลอร์ประกาศให้โปแลนด์ยอมแพ้ ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นแก่ประเทศโปแลนด์ รัฐบาลโปแลนด์ปฏิเสธ โดยหวังว่า อังกฤษและฝรั่งเศสจะส่งทหารเข้าช่วยตนเอง หากเยอรมันเปิดฉากบุกโปแลนด์

[แก้] บทสรุปของสงครามโลกครั้งที่ 2
9 วันก่อนการบุกโปแลนด์ วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ประกาศเส้นตายในการบุกโปแลนด์ว่าคือวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ครั้นพอวันที่ 28 กันยายน อังกฤษก็ตอบปฏิเสธข้อเสนอของฮิตเลอร์ ที่จะรับประกันความปลอดภัยของเครือจักรภพอังกฤษ เพื่อแลกกับการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในปัญหาโปแลนด์ของอังกฤษ พร้อมกันนี้อังกฤษได้เปิดช่องทางออกให้เยอรมันว่า อังกฤษพร้อมที่จะเจรจากับเยอรมันในปัญหาดังกล่าวและแล้วในรุ่งอรุณของวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การบุกของเยอรมันก็เปิดฉากขึ้น ยานเกราะจำนวนมากมาย พร้อมทหารราบรุกข้ามพรมแดนเข้าสู่โปแลนด์ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟวาฟ กองทหารโปแลนด์ต่อสู้อย่างสุดกำลัง แต่ด้วยประสิทธิภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่างกันลิบลับ ทหารโปแลนด์จึงถูกกวาดล้างไปจากแนวรบอย่างไม่ยากเย็นนัก

ฮิตเลอร์รอคอยอย่างใจจดใจจ่อต่อปฏิกริยาของอังกฤษและฝรั่งเศส จนกระทั่งเวลา 0900 น. ของวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 เขาก็ได้รับข่าวจากลอนดอนว่า อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมันแล้ว ความวิตกของฮิตเลอร์เป็นความจริง ข่าวนี้แพร่ไปทั่วเยอรมัน ประชาชนต่างฟังข่าวด้วยความเงียบงัน ไม่มีใครต้องการให้สงครามเกิดขึ้น ไม่มีแม้แต่คนเดียว ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่เป็นสาเหตุของสงครามในครั้งนี้อย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ [2]

ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันและฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่นและอิตาลี) ได้ยึดครองยุโรปได้เกือบทั้งทวีป ฮิตเลอร์ได้ใช้นโยบายด้านเชื้อชาติ ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งทำให้ผู้บริสุทธิ์ตายไปอย่างน้อย 11 ล้านคน โดยเป็นชาวยิวถึง 6 ล้านคน ฮิตเลอร์เปลี่ยนแปลงเยอรมนีจากประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาเป็นมหาอำนาจของโลก แต่ฝ่ายพันธมิตร นำโดยประเทศแกนนำได้แก่

สหรัฐอเมริกา
สหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน)
สหราชอาณาจักร
สามารถเอาชนะเยอรมนีลงได้ใน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ฮิตเลอร์จบชีวิตโดยการยิงตัวตายพร้อมภรรยาชื่อ อีวา บราวน์ ซึ่งกินยาพิษเป็นการฆ่าตัวตาย ในหลุมหลบภัยเบอร์ลินเพื่อหนีการถูกจับเป็นเชลย อย่างไรก็ดี ไม่มีใครพบศพของฮิตเลอร์เลย จึงเชื่อว่า หน่วยชุทต์สตัฟเฟิล (เอสเอส) เผาศพของเขาเพื่อไม่ให้โซเวียตเอาไปแห่ประจานเฉกเช่น เบนิโต มุสโสลินี อีกกระแส ก็กล่าวว่า ฮิตเลอร์ได้หลบหนีไปได้

[แก้] ลักษณะนิสัยของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ตามข้อมูลฝั่งตะวันตก ฮิตเลอร์เป็นคนอารมณ์ร้าย และมักจะเกรี้ยวกราดอย่างไม่มีเหตุผล อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาขั้นต้นนี้ แพทย์ประจำตัวของเขายืนยันว่าไม่เป็นความจริง โดยความจริงแล้ว ฮิตเลอร์ไม่ใช่คนโมโหร้าย ทั้งยังชอบพูดเรื่องตลก แต่หากมีใครเถียงนอกเรื่องข้างๆ คูๆ เขาก็จะตะเบ็งเสียงดังจนกลบเสียงคู่สนทนาหมดทุกคน แต่ฮิตเลอร์นั้นมีโรคประจำตัวหลายโรคมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก เขากินช็อกโกแลต 2 ปอนด์ทุกวัน แม้แต่กินน้ำชา เขาก็ยังใส่น้ำตาลถึง 7 ช้อน ดื่มไวน์ก็เติมน้ำตาลด้วย แต่โรคประจำตัวส่วนมากจะเกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำงานผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ พาร์คินสัน (Parkinson) และอีกหลายโรค

ฮิตเลอร์ชอบจูบมือผู้หญิง ชอบเลขานุการหญิงมากชนิดที่ว่า ถ้าพวกเธอป่วย เขาก็จะไปเยี่ยมเลยทีเดียว และเขาเป็นคนรักสะอาดมาก ชอบอาบน้ำวันละหลายๆ ครั้ง เสื้อผ้าส่วนตัวก็รักษาให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ เครื่องแบบของเขาก็มีแค่ตรา "กางเขนเหล็ก" ที่ได้มาเมื่อครั้งเขาเป็นนายทหารเยอรมันเท่านั้น แม้ว่าฮิตเลอร์เป็นคนรักสุนัขมากแต่จะไม่ชอบลูบสุนัขด้วยมือเปล่า หากลูบแล้วเขาก็รีบไปล้างมือโดยไว ทั้งยังเป็นมังสวิรัติ ฮิตเลอร์เป็นคนสุภาพมากและเป็นคนใจดี สมัยนั้นมีผู้ที่ชื่นชอบเขาเขียนจดหมาย ส่งดอกไม้และของขวัญมาให้เยอะแยะมากมาย ฮิตเลอร์ยังเคยให้คนนำของทั้งหมดไปแจกจ่ายให้กับผู้ยากไร้ที่อาศัยอยู่ บริเวณใกล้เคียงด้วย ห้องทำงานของเขาซึ่งเป็นทั้งห้องนอนก็เรียบร้อยเป็นระเบียบและสะอาด สะอ้าน ภายในห้องมีของใช้จำเป็นอยู่ไม่กี่ชิ้น อย่างเตียงเหล็ก ตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า โต๊ะทำงาน และเก้าอี้อีก 2 ตัว ของชิ้นเดียวที่แขวนประดับอยู่ข้างเตียงของเขาคือ รูปถ่ายของแม่ของเขา ฮิตเลอร์ยังชอบทำอะไรซ้ำๆ เช่น เวลาออกไปเดินเล่นก็ชอบเดินทางเดิมที่เคยเดิน นอกจากนี้ ฮิตเลอร์เป็นชายที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นเจ้านายที่ควรค่าแก่การเคารพ ใครจะว่าเขาไม่ดียังไง แต่เขาดีกับบรรดาคนรับใช้ของมาก ไม่งั้นภายหลังเขาเสียชีวิตคงไม่มีใครยอมตายตามเขาไป

ฮิตเลอร์เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาก เนื่องจากเขาไม่มีโอกาสทางการศึกษามากนัก เมื่อมีโอกาสฮิตเลอร์พยายามทดแทนด้วยการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือที่สะสม หนังสือเหล่านี้จึงหล่อหลอมตัวตนฮิตเลอร์และแนวคิดของเขาเขามีหนังสือมากถึง 16,000 เล่มซึ่งถูกเก็บไว้ในห้องสมุดส่วนตัวซึ่งมีมากกว่า 3 แห่ง ทั้งในเบอร์ลิน มิวนิค และบ้านพักตากอากาศต่างๆ มีทั้งแนวประวัติศาสตร์ ปรัชญา การเมือง กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมคลาสสิก เช่น โรมิโอกับจูเลียต, กระท่อมน้อยของลุงทอม และดอน กีโฆเต้ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับสงคราม อัตชีวประวัติของบุคคลต่างๆ ศิลปะ และประวัติศาสตร์ ด้วยความที่เขาชอบอ่านหนังสือ เขาจึงสามารถบอกรูปร่างและลักษณะของเรือรบแบบต่างๆ และรอบรู้ในเรื่องยุทโธปกรณ์ของกองทัพเยอรมันเป็นอย่างดี และเขามีความจำที่เยี่ยมมาก สามารถจำได้ว่า เรือรบของราชนาวีเยอรมนี (Kreigsmarine) มีระวางขับน้ำกี่ตัน ปล่อยออกมาจากท่าเรือไหน วันที่ใด ติดอาวุธอะไรบ้าง ฯลฯ ฮิตเลอร์ยังเป็นคนรอบรู้ด้านอาวุธและยุทธวิธี จนไคเทล และเดอนิทซ์ชื่นชมเขาเลยทีเดียว แต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 หนังสือในห้องสมุดส่วนตัวของเขาได้กระจัดกระจายออกไป ในปัจจุบันพบอยู่ราว ๆ 10,000 เล่ม ตลอดช่วงชีวิตของการเป็นผู้นำนาซี ฮิตเลอร์นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับการเขียน การพูด และการกล่าวคำปราศรัย จนกลายเป็นนักพูดที่สามารถสะกดโน้มน้าวใจผู้ฟังได้อย่างชะงัก หนังสือหลายเล่มของฮิตเลอร์มีลายมือของเขา เขียนกำกับไว้ตามที่ต่าง ๆ พร้อมกับคำถามและความเห็นต่อเนื้อหาโดยเฉพาะวรรคทอง ประโยคเด็ด หรือย่อหน้าที่ชื่นชอบเขาจะขีดเส้นใต้ไว้ [3] นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ เช่น เขาบอกว่าจะฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทันทีเมื่อเป็นผู้นำ และเขาก็ฉีกจริงๆ เมื่อเขาได้เป็นผู้นำเยอรมนี

ฮิตเลอร์เป็นคนชอบศึกษาเรื่องเครื่องยนต์กลไก แต่ไม่คิดที่จะขับรถเอง ชอบเทคโนโลยี ชอบวิทยาศาสตร์ ชอบการคิดสร้างสรรค์สิ่งที่มหัศจรรย์ เป็นคนไม่ย่อท้อมีกำลังใจสูง ชอบจินตนาการ ชอบศิลปะ ชอบวาดรูป ชอบเล่นภาพสีน้ำมัน ชอบร้องเพลง เป็นอัจฉริยะเรื่องผิวปาก และชอบเล่นเครื่องดนตรีฮาร์โมนิก้า และฟลุต ไม่ชอบฟังวิทยุ แต่ชอบฟังเพลงในอุปรากรของริชาร์ด วากเนอร์ ชนิดที่เขายกวากเนอร์ให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีเลยทีเดียว

[แก้] ชีวิตส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
จะเรียกว่า "ผู้นำที่ใครๆต้องการ" ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้ฮิตเลอร์จะเป็นถึงผู้นำแห่งเยอรมนีที่มีอำนาจมาก แต่เขาก็ไม่ได้ใช้ชีวิตฟู่ฟ่าเลย ผิดกับผู้นำหลายๆ คน เช่น เขาดื่มชาชนิดที่สามัญชนดื่ม อาหารที่เขากินก็เป็นแบบที่สามัญชนกิน (อาหารจานโปรดของเขาคืออาหารกรรมกรแบบ "หม้อเดียว" ที่ประกอบด้วยถั่วเป็นส่วนมาก) บ้านของเขาก็ไม่ใช่บ้านที่ใหญ่โตหรูหราเช่นกัน ยกเว้นบ้านที่แบร์กเชสการ์เทิน ที่ตั้งอยู่บนเขาสูง 2,600 เมตร มีขนาดใหญ่มาก มีลิฟต์หุ้มเกราะสำหรับขึ้นลงอุโมงค์ 16 ตัว ที่พักใต้ดิน 3,000 คน มีห้องนอนอย่างดี มีอาวุธ กระสุน แชมเปญ ที่เก็บเอกสารมากมาย ซึ่งเป็นทั้งที่ประชุมลับและป้อมปราการไปในตัว

แม้แต่ในสนามรบ ฮิตเลอร์ก็ชอบที่จะอยู่กับทหาร อย่างเช่นตอนบัญชาการสนามอยู่แถบปรัสเซียตะวันออก แม้จะต้องนอนบนเตียงไม้ฉาแข็งๆ ผ้าห่มบางๆ เขาก็จะทำ เพราะเขาคิดว่าเป็นวิธีที่ทำให้เขารู้ถึงกำลังใจของทหารได้ดี สิ่งนี้จึงทำให้ทหารเยอรมันมีขวัญกำลังใจที่ดี ถึงกระนั้น ฮิตเลอร์เองก็ไม่บังคับให้ทหารคนอื่นๆต้องอยู่ลำบากเช่นเดียวกับเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นายพลบางคน เช่น เฮอร์มานน์ เกอริง ได้อยู่อย่างสุขสบาย

จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อาจสรุปได้ว่า ฮิตเลอร์เป็นคนพอเพียง และมีน้ำใจกับคนอื่นในทางอ้อมอีกด้วย

[แก้] วาระสุดท้ายของฮิตเลอร์
หลายคนเชื่อว่า ฮิตเลอร์ได้ฆ่าตัวตายพร้อมๆกับภรรยาในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ก่อนที่กรุงเบอร์ลินจะถูกยึดในอีกไม่นาน โดยเชื่อว่าฮิตเลอร์ใช้วิธียิงตัวตาย แต่ก็ยังมีบางส่วนเชื่อว่าฮิตเลอร์สามารถหนีออกจากกรุงเบอร์ลินได้ก่อนที่เบอร์ลินจะแตก แต่ถึงอย่างไร การเสียชีวิตของฮิตเลอร์ก็ยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้
http://th.wikipedia.org/wiki

25 ก.ย. 2553

โรคหัด

อาการ
มีอาการตัวร้อนขึ้นทันทีทันใด ในระยะแรกมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่ผิดกันตรงที่จะมีไข้สูงตลอดเวลา กินยาลดไข้ ไข้ก็ไม่ลด เด็กจะซึม กระสับกระส่าย ร้องกวน เบื่ออาหาร มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ น้ำตาไหล ไม่สู้แสง หนังตาบวม จะมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งเหมือนท้องเดินในระยะก่อนที่จะมีผื่น หรืออาจชักจากไข้สูงผื่นของหัดจะขึ้นจากตีนผม ซอกคอก่อน แล้วลามไปตามใบหน้าลำตัวและแขนขา ลักษณะเฉพาะของหัดคือจะมีผื่นขึ้นหลังมีไข้ 3-4 วัน มักจะขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ เป็นผื่นเท่าหัวเข็มหมุดที่ตีนผมก่อนและซอกคอ ผื่นนี้จะจางหายได้เมื่อดึงรั้งผิวหนังให้ตึง เป็นแผ่นกว้าง รูปร่างไม่แน่นอน อาจมีผื่นคันเล็กน้อย ผื่นจะไม่จางหายไปในทันที จะจางหายไปใน 4-7 วัน และจะเหลือให้เห็นเป็นรอยสีน้ำตาล บางราย

สิ่งตรวจพบ
ไข้ 38.5-40.5 องศาเซลเซียส หรือบางรายอาจสูงกว่านั้นก็เป็นได้ หน้าแดง ตาแดง หน้าตาบวมคู่ เปลือกตาแดง บางรายมีอาการปวดตาเมื่อกลอกตาสุด ระยะ 2 วันหลังมีไข้ พบจุดสีขาวๆ เหลือง หรือ แดงขนาดเล็กๆ คล้ายเม็ดงาที่กระพุ้งแก้มด้านในริเวณใกล้ฟันกรามล่าง หรือ ฟันกรามด้านบนสองซี่สุดท้าย เรียกว่าจุดค็อปลิก (Koplik's spot) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของหัดและจะหายไป หลังไข้ขึ้น 2-4 วันจะพบผื่นที่หน้า หลังหู ซอกคอ ลำตัว โดยเริ่มขื้นจากด้านบนก่อน ต่อมน้ำเหลืองที่คอด้านซ้ายและขวาบวมขื้น ปอดจะมีเสียงปกติ ยกเว้นถ้ามีโรคปอดอักเสบแทรก เมื่อใช้เครื่องฟังจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation)

อาการแทรกซ้อน
มักจะพบในเด็กขาดสารอาหารร่างกายอ่อนแอ ที่พบบ่อยคือ ปอดอักเสบ ท้องเดิน ซึ่งมักจะพบหลังผื่นขึ้น หรือไข้เริ่มทุเลาลงแล้ว ที่รุนแรงถึงตายได้ คือ สมองอักเสบ นอกจากนี้ ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงมีโอกาสเป็นวัณโรคปอดได้ง่ายขึ้น

การรักษา
1.ปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ พักผ่อนมากๆ ไม่อาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบตัวเมื่อมีไข้สูง ดื่มน้ำและน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ให้มากๆ
2.ให้ยารักษาตามอาการ เช่นยาลดไข้ Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) เด็กให้ชนิดน้ำเชื่อม (120 มิลลิกรัมต่อช้อนชา ) เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ครั้ง ครึ่งช้อนชา อายุ 1-4 ปี ให้ 1 ช้อนชา
3.ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ ตั้งแต่ระยะแรกเพราะไม่มีความจำเป็น
4.ถ้ามีอาการไอมีเสลดข้นหรือเขียว ไอ ปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) หรือเสียงอีด ให้ยา Amoxycillin ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน เด็กให้วันละ 30-50 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือแบ่งให้ตามน้ำหนักตัว หรือให้ Erythromycin ผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เด็ก ให้วันละ 30-50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง
ข้อแนะนำ
1.ควรแยกผู้ป่วย ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย
2.โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เอง พบภาวะแทรกซ้อนเป็นส่วนน้อย

24 ก.ย. 2553

ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน

ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน

โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร (peptic ulce) หมายถึงอาการปวดแสบ ปวดต้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่น ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะคือ ความเครียด (วิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการงาน การเรียน) พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดเวลา และการรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น เหล้า เบียร์ แอสไพริน (ยาแก้ปวด ยาซอง) ยาแก้ปวดข้อ ยาชุด หรือยาลูกกลอนที่ใส่สเตียรอยด์ เครื่องดื่มชูกำลัง ที่เข้าสารคาเฟอีน เป็นต้น

การรักษาโรคกระเพาะ โดยการรับประทานยา และดูแลสุขภาพ ของตนเอง ดังนี้
ก. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
ข. รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ (ถ้าปวดมากในระยะแรก ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม) อย่ารับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด

ไม่จำเป็นต้องแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยมื้อขึ้นดังที่เคยแนะนำกันในอดีต เพราะยิ่งรับประทานมากนอกจากจะทำให้น้ำหนักขึ้นแล้ว (ต้องคอยลดความอ้วนอีก) ยังอาจจทำให้อาการกำเริบได้ง่ายอีกด้วยคนที่เป็นโรคกระเพาะบางครั้งอาจรู้สึกหิวง่ายก็ควรรับประทาน ยาลด กรดแทนนมหรือข้าว

ค. งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่เพราะจะทำให้โรคกำเริบได้
ง. ห้ามรับประทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าเตรียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้รักษาโรคอื่น ควรปรึกษาแพทย์)
จ. คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เต้นแอโรบิก) หรือทำสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ หรือเจริญภาวนาตามศาสนาที่ตัวเองนับถือ คนที่เป็นโรคกระเพาะเนื่องจากความเครียด การปฏิบัติในข้อนี้ จะมีส่วนช่วยให้โรคหายขาดได้


ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร คือ

1. ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn., Curcuma domesticaVal.
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น(ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช
ขมิ้นมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ประเทศอินเดีย จีน และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออกปัจจุบันมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างแพร่หลายในประเทศเขตร้อน ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ถึงฤดูแล้งใบจะโทรม เมื่อย่างเข้าฤดูฝนเริ่มแตกใบขึ้นมาใหม่เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านยาว ใบเหนียว เรียวและปลายแหลม กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบประดับสีเขียวอมชมพู ดอกบานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลม มี พู

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมื่อขมิ้นอายุราว 7-9 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอมแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
เหล้าขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 22-6 เป็นน้ำมันสีเหลือง มีสารหลายชนิด คือ Turmerone, Zingiberene, Borneol เป็นต้น และมีสารสีเหลืองส้ม คือ เคอร์ควิมิน (Curmumin) ประมาณร้อยละ 1.8-5.2

การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า ขมิ้นมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ขับน้ำดี และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบได้ โดยที่ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเกิดจากสารเคอร์คิวมิน ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้เกิดการกระตุ้น การหลั่ง mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ แต่ถ้าใช้ขนาดสูงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ ส่วนฤทธิ์ลดการอักเสบเกิดจากสารเคอร์คิวมินและน้ำมันหอมระเหย ทำให้ขมิ้นมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะได้

ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์ และคณะ (2529) ศึกษาผลของยาแคปซูลขมิ้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องเนื่องจากแผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กดูโอนินั่ม โดยดูการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังภายในกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กดูโอนินั่ม ด้วยกล้องส่องตรวจ (Endoscope) ในผู้ป่วยชาย 8 ราย หญิง 2 ราย อายุระหว่าง 16-60 ปีผู้ป่วยที่มีแผลเปื่อย10 ราย นี้เป็น D.U. 2 ราย มีขนาดแผล 0.5-1.5 ซม. โดยให้รับประทานขมิ้นชันขนาดแคปซูลละ 250 มก.ครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 มื้อ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง และก่อนนอน ปรากฏผลว่า แผลของผู้ป่วยหายเรียบร้อยดี 6 ราย คิดเป็น 60 % ในระยะเวลา 4-12 สัปดาห์ ในจำนวนนี้ถ้าแสดงผลการหายของแผลเรียบร้อยภายในเวลา 4 สัปดาห์ ได้เป็น 50%

อัญชลี อินทนนท์ และคณะ (2529) ได้ทำการทดลองใช้ขมิ้นรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องซึ่งเชื่อว่าเป็นอาการของโรคแผลเปปติค (Peptic Ulcer) โดยเปรียบเทียบกับการใช้ไตรซิลิเกต (Trisiligate) ซึ่งเป็นยาลดกรดขององค์การเภสัชกรรม ได้ผลดังนี้ คืออาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยขมิ้นชัน ครบ 12 สัปดาห์ จำนวน 15 ราย คิดเป็น 60% หายปกติ 1 ราย คิดเป็น 58 % อาการดีขึ้นมาก หลังรักษาด้วยไตรซิลิเกต 5 ราย คิดเป็น 50 % หายปกติ 4 ราย คิดเป็น 40 %

ขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่าขมิ้น ไม่มีพิษเฉียบพลันและไม่มีผลในด้านก่อกลายพันธุ์ และในการวิจัยทางคลินิกของ ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์และคณะ (2529) ได้ศึกษาเคมีเลือดผู้ป่วยที่รับการ ทดลองจำนวน 30 คน ก่อนและหลังรับประทานขมิ้นติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในผลเคมีเลือดที่บ่งถึงการตรวจหน้าที่ตับและไต และฮีมาโตโลยี ส่วนผลแทรกแซง พบอาการท้องผูก ราย แพ้ยามีผื่นที่ผิวหนัง 2 ราย

http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1480